วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

TQA

TQA = Thailand Quality Award เป็นรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นเลิศในการบริหารจัดการในทุกด้าน ตลอดจนผลประกอบการที่ดีขององค์กร มาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันว่าเทียบเท่ากับองค์กรที่มีคุณภาพสูงสุดในโลก สำหรับประเทศไทย TQA เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2539 มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีการศึกษาแนวทางการจัดตั้งรางวัลนี้และเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้บรรจุ TQA ไว้ในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (ปัจจุบันใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ) โดยมีหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการประสานงานกับภาครัฐและเอกชนคือ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ 


วัตถุประสงค์หลักการจัดตั้ง TQA

เพื่อสนับสนุนการนำแนวทางรางวัลคุณภาพไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กร และปรับปรุงความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นให้เกิดการเรียนและแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมทั้งประกาศเกียรติคุณแก่องค์กรที่ประสบผลสำเร็จในการนำ TQA มาใช้ เพื่อแสดงให้นานาชาติเห็นถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการองค์กร 

ที่มาของเกณฑ์ TQA

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ถือเป็นมาตรฐานรางวัลระดับโลกที่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการ การตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลแห่งชาติที่หลายประเทศทั่วโลกนไปประยุกต์ใช้ในประเทศของตน เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เป็นต้น 

แนวทางของ TQA คืออะไร

แนวทางของ TQA คำนึงถึงความยืดหยุ่นในการดำเนินการที่สอดคล้องและต่อเนื่องกันขององค์กร ทั้ง 7 หมวดดำเนินการได้แก่
  • หมวด 1 การนำองค์กร : ที่มุ่งเน้นไปถึงความเข้าใจของผู้นำองค์กรที่มุ่งสู่การเป็นเลิศในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งต้องเข้าใจวิสัยทัศน์และค่านิยมขององค์กร รวมทั้งการสื่อสารความเข้าใจให้มีการร่วมมือของทุกคนในองค์กร รวมทั้กงารมีธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
  • หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ : หมายถึง การจัดทำกลยุทธ์เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรและกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ตลอดจนการถ่ายทอดกลยุทธ์นั้นไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างสอดคล้อง
  • หมวด 3 การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด : องค์กรต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าและความต้องการของลูกค้าอย่างถ่องแท้ ตอบสนองได้อย่างพึงพอใจ และมีความสัมพันธ์ที่ดี
  • หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ : เป็นกระบวนการวัดผลการดำเนินงานและทบทวนการดำเนินงาน รวมถึงการบริหารจัดการสารสนเทศ ความพร้อใช้และเพียงพอในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
  • หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร : บุคลากร ถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่องค์ต้องรักษาและเพิ่มคุณค่า การพัฒนาบุคลากร จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่องค์กต้องมุ่งสร้างความผูกพันซึ่งสอดคล้องกับคำขวัญหนึ่งของ ปณท ที่ยังคยึดถือมานาน “ รู้รัก สามัคคี”
  • หมวด 6 การจัดการกระบวนการ : คือความเข้าใจในการจัดการและออกแบบระบบงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการดำเนินการ ตลอดจนต้องมีทบทวนและปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ยังคงมาตรฐานประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กร อย่างยั่งยืน
  • หมวด 7 ผลลัพธ์ : คือผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานด้านผลผลิต ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ด้านการเงินและตลาด ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านประสิทธิผลกระบวนการ และด้านการนำองค์กร

การเข้าประเมินผลตามแนวทาง TQA

อย่างไรก็ตาม การเข้าประเมินผลตามแนวทาง TQA นั้น หน่วยงานที่เข้าระบบประเมินจะใช้เวลาเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลประมาณ 3 - 5 ปี ตามขั้นตอนที่กำหนด 11 ขั้นตอน ได้แก่
  1. กำหนดขอบเขตของการประเมิน
  2. กำหนดกลุ่มผู้ทำหน้าที่
  3. กำหนดรูปแบบวิธีการ
  4. จัดทำโครงร่างองค์กร
  5. ฝึกประเมินตนเอง
  6. จัดตั้งทีมงานประเมินในแต่ละหัวข้อ
  7. ดำเนินการประเมินองค์กร
  8. วิเคราะห์โอกาสในการปรับปรุงและจัดลำดับ
  9. จัดทำแผนปรับปรุงแก้ไข
  10. ประเมินและปรับปรุงกระบวนการ
  11. สมัครเข้ารับการประเมิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น