วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทิศทางเศรษฐกิจไทยในยุค AEC 2558

ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) เป็นการรวมตัวกันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ประกอบด้วย 6 สมาชิกดั้งเดิมคือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และ 4 สมาชิกใหม่คือ ลาว พม่า เวียดนาม และกัมพูชา โดยมีเป้าหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่

1.เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน : มีการเคลื่อนย้ายเสรีใน 5 สาขา ได้แก่ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมือ ระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรีมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการขยายการค้าและการบริการเพิ่มขึ้น
2.สร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน : โดยการร่วมมือกันในด้านต่างๆ เช่น นโยบายทางภาษี (การลดภาษี ทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลดลง) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค : พยายามลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของสมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ เช่น การสนับสนุนการพัฒนา SMEs ในภูมิภาค และ
4.การเพิ่มอำนาจการต่อรองกับเศรษฐกิจโลก : โดยเน้นการปรับและประสานนโยบายเศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายกับประเทศภายนอกกลุ่ม เพื่อสร้างความเข้มแข็งในภูมิภาคและรองรับการแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม AEC เป็นเพียงส่วนหนึ่งในแผนการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนเท่านั้น ซึ่งการรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจในครั้งนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี ซึ่งจะช่วยเพิ่มบทบาทและความน่าสนใจของกลุ่มอาเซียนในสายตาประชาคมโลก อีกทั้งยังเพิ่มอำนาจการต่อรองในเวทีเศรษฐกิจโลกด้วยจำนวนประชากรประมาณ เกือบ 600 ล้านคน หรือคิดเป็น 8.50% ของประชากรโลก และศักยภาพในการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต

การรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจของ AEC ไม่เข้มงวดเหมือนกับการเข้าเป็นสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) โดยตามกรอบข้อตกลงของ AEC ไม่ได้ระบุให้ประเทศสมาชิกต้องใช้เงินสกุลเดียวกัน ประกอบกับประเทศใน AEC มีการบริหารจัดการแบบ Intra-government คือแต่ละประเทศมีอำนาจและอิสระในการกำหนดนโยบายของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายการตั้งกำแพงภาษีกับประเทศนอกกลุ่ม AEC เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจาก EEC ที่มีความเป็น Supra-national authority โดยทุกประเทศต้องใช้นโยบายกลาง ตัดสินใจจากหน่วยงานที่มีอำนาจจากส่วนกลาง
สิ่งที่ 6 ประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิมดำเนินการเสร็จแล้วคือการลดภาษีระหว่างกันให้ เหลือ 0-5% ขณะที่กลุ่มอาเซียนใหม่ 4 ประเทศถูกกำหนดให้ดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 ส่งผลให้ไทยขยายตลาดส่งออกไปประเทศในกลุ่มอาเซียนในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยมากกว่า 5% แทนการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจอ่อนแอ เช่น ประเทศในกลุ่มประเทศ G-3 โดยตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค. 2554 สัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียน 23% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด เพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนๆ (ปี 2553 และ 2552 เท่ากับ 22.70%, 21.3% ตามลำดับ) ขณะที่ตลาดส่งออกหลักได้แก่ กลุ่ม G-3 ลดลงเหลือ 31% (ปี 2553 และ 2552 เท่ากับ 32%, 33.16% ตามลำดับ) ทำให้การส่งออกของไทยยังคงขยายตัวแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม การก้าวเข้ามาอยู่ภายใต้ใบเรือของ AEC นั้นก่อให้เกิดทั้งในด้านโอกาสและความท้าทายต่อประเทศไทย ดังนั้น เพื่อที่จะทำให้สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจนี้ ภาคส่วนต่างๆจึงต้องมีการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล ซึ่งเป็นแกนนำสำคัญในการออกนโยบายหรือมาตรการต่างๆในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ นักลงทุนต่างประเทศเพื่อเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล การเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางด้านการลงทุนของต่างชาติจาก BOI ภาคผู้ประกอบการ เน้นการแสวงหาตลาดใหม่ๆเพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดหรือสร้างมูลค่าเพิ่ม แทนการแข่งขันด้านราคาอย่างเดียว รวมถึงนักลงทุนต้องปรับเปลี่ยนการลงทุนของตนเองไปยังตลาดหรืออุตสาหกรรมที่ คาดว่าจะได้รับประโยชน์จาก AEC

ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจาก AEC ได้แก่ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จากการที่ไทยมีศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจการท่องเที่ยวอยู่แล้ว ทำให้มีโอกาสใช้จุดแข็งนี้เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวพักผ่อน การจัดงานแต่งงาน การดูแลรักษาสุขภาพ โดยการยกเว้นวีซ่าสำหรับการท่องเที่ยวระยะสั้นให้แก่นักท่องเที่ยว อีกทั้งค่าบริการยังอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง แต่สิ่งที่ต้องปรับตัวคือการพัฒนาแรงงานในธุรกิจท่องเที่ยวให้มีความ เชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษมากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันกับแรงงานจากประเทศอาเซียนอื่นๆที่มีความถนัดทางด้าน ภาษามากกว่า
อุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยแรงงานฝีมือ โดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร นักกฎหมาย นักบัญชี สถาปนิก ที่มีโอกาสจะเคลื่อนย้ายตนเองเข้าไปสู่ประเทศที่มีผลตอบแทนสูงกว่าจากการที่ จะเปิดเสรีในการโยกย้ายแรงงาน โดยผู้ประกอบการที่ต้องการรักษาแรงงานฝีมือเหล่านั้นไว้จะต้องเพิ่มค่า ตอบแทนให้มากพอในการจูงใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ต้นทุนของภาคธุรกิจดังกล่าวสูงขึ้น

อุตสาหกรรมที่มีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยปัจจุบันสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนคือ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เช่น สัตว์น้ำแช่แข็ง เยื่อกระดาษ เคมีภัณฑ์ เพชร พลอย ซึ่งได้รับประโยชน์จากการทำลายกำแพงภาษีระหว่างประเทศกลุ่มสมาชิก ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตถูกลง
อุตสาหกรรมบริการด้านโทรคมนาคม ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจบริการที่ไทยต้องขยายสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุน อาเซียนเป็น 70% อาจทำให้ประเทศที่มีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีสูงกว่า เช่น สิงคโปร์ เข้ามามีอำนาจในการจัดการอุตสาหกรรมประเภทนี้ได้
กล่าวได้ว่า การรวมตัวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ดังนั้น ภาครัฐบาล ผู้ประกอบการ และนักลงทุน จึงควรศึกษาผลกระทบและร่วมมือกันในการปรับตัวเพื่อรองรับการลงเรือที่ชื่อ ว่า ASEAN ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ รวมทั้งการพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากรเพื่อเก็บเกี่ยวและรองรับประโยชน์ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน ปีที่ 12 ฉบับที่ 315

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ภาพลักษณ์อนาคตการศึกษาไทย

1. ภาพลักษณ์นักเรียน : ตั้งมั่นในคุณธรรม มุ่งมั่นพัฒนาความรู้ ใจมั่นคงเป็นสุข ยึดมั่นความเป็นไทย
 ก้าวมั่นสู่อนาคต
เก่ง : มุ่งมั่นพัฒนาความรู้ โดยมีทักษะความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ และทำงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ มีนิสัย ใฝ่เรียนรู้ เรียนรู้ด้วยตัวเอง และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอด
ชีวิต มีความสามารถในการสื่อสาร คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์
ดี : ตั้งมั่นในคุณธรรม โดยมีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ท างานเป็น
กลุ่มได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม รังเกียจการทุจริตทุกระดับ
และต่อต้านการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง
มีสุข : ใจมั่นคงเป็นสุข โดยมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่สมบูรณ์ แข็งแรง
ความเป็นไทย : ยึดมั่นความเป็นไทย โดยมีจิตสำนึกและความภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เทคโนโลยี : ก้าวมั่นสู่อนาคต โดยใช้ภาษาอย่างน้อยสองภาษา ใช้เทคโนโลยีอย่างเท่าทัน พร้อมสู่
ประชาคมอาเซียน
2. ภาพลักษณ์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรที่ตอบสนองต่อศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริง
เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ เน้นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมหน้าที่พลเมือง และความเป็นไทย
หลักสูตรมีความเหมาะสมกับท้องถิ่น และพร้อมสู่สากล
หลักสูตรสามารถนำไปสู่อาชีพได้จริง
3. ภาพลักษณ์ของครูและบุคลากรทางการศึกษา
เป็นผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ บริหารและจัดการศึกษา
เป็นคนเก่งมีความรู้ในวิชาชีพของตนเอง พร้อมพัฒนาตนเอง
แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
เป็นคนดี มีจิตสำนึก มีใจพร้อมให้บริการ
ท างานด้วยความทุ่มเท เสียสละ และปฏิบัติงานตามหน้าที่เต็มเวลา เต็มความสามารถ
ใช้ทักษะการสื่อสารทางบวก เสริมแรง รับฟัง ตอบรับการฟัง ให้กำลังใจ
มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี พร้อมรับในการเปลี่ยนแปลง
ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิใจในความเป็นไทย
4. ภาพลักษณ์ของสถานศึกษา
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมต่อการจัดการศึกษา
มีบรรยากาศสภาพแวดล้อมให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน
มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่การเรียนการสอน
มีทรัพยากรทางการจัดการศึกษา และการบริหารการศึกษาอย่างเพียงพอ
เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ชุมชนภาคภูมิใจ และมีส่วนร่วมจัดการศึกษา
มีจ านวนครู และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอตามเกณฑ์

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

TQA

TQA = Thailand Quality Award เป็นรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นเลิศในการบริหารจัดการในทุกด้าน ตลอดจนผลประกอบการที่ดีขององค์กร มาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันว่าเทียบเท่ากับองค์กรที่มีคุณภาพสูงสุดในโลก สำหรับประเทศไทย TQA เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2539 มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีการศึกษาแนวทางการจัดตั้งรางวัลนี้และเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้บรรจุ TQA ไว้ในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (ปัจจุบันใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ) โดยมีหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการประสานงานกับภาครัฐและเอกชนคือ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ 


วัตถุประสงค์หลักการจัดตั้ง TQA

เพื่อสนับสนุนการนำแนวทางรางวัลคุณภาพไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กร และปรับปรุงความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นให้เกิดการเรียนและแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมทั้งประกาศเกียรติคุณแก่องค์กรที่ประสบผลสำเร็จในการนำ TQA มาใช้ เพื่อแสดงให้นานาชาติเห็นถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการองค์กร 

ที่มาของเกณฑ์ TQA

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ถือเป็นมาตรฐานรางวัลระดับโลกที่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการ การตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลแห่งชาติที่หลายประเทศทั่วโลกนไปประยุกต์ใช้ในประเทศของตน เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เป็นต้น 

แนวทางของ TQA คืออะไร

แนวทางของ TQA คำนึงถึงความยืดหยุ่นในการดำเนินการที่สอดคล้องและต่อเนื่องกันขององค์กร ทั้ง 7 หมวดดำเนินการได้แก่
  • หมวด 1 การนำองค์กร : ที่มุ่งเน้นไปถึงความเข้าใจของผู้นำองค์กรที่มุ่งสู่การเป็นเลิศในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งต้องเข้าใจวิสัยทัศน์และค่านิยมขององค์กร รวมทั้งการสื่อสารความเข้าใจให้มีการร่วมมือของทุกคนในองค์กร รวมทั้กงารมีธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
  • หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ : หมายถึง การจัดทำกลยุทธ์เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรและกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ตลอดจนการถ่ายทอดกลยุทธ์นั้นไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างสอดคล้อง
  • หมวด 3 การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด : องค์กรต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าและความต้องการของลูกค้าอย่างถ่องแท้ ตอบสนองได้อย่างพึงพอใจ และมีความสัมพันธ์ที่ดี
  • หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ : เป็นกระบวนการวัดผลการดำเนินงานและทบทวนการดำเนินงาน รวมถึงการบริหารจัดการสารสนเทศ ความพร้อใช้และเพียงพอในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
  • หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร : บุคลากร ถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่องค์ต้องรักษาและเพิ่มคุณค่า การพัฒนาบุคลากร จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่องค์กต้องมุ่งสร้างความผูกพันซึ่งสอดคล้องกับคำขวัญหนึ่งของ ปณท ที่ยังคยึดถือมานาน “ รู้รัก สามัคคี”
  • หมวด 6 การจัดการกระบวนการ : คือความเข้าใจในการจัดการและออกแบบระบบงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการดำเนินการ ตลอดจนต้องมีทบทวนและปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ยังคงมาตรฐานประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กร อย่างยั่งยืน
  • หมวด 7 ผลลัพธ์ : คือผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานด้านผลผลิต ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ด้านการเงินและตลาด ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านประสิทธิผลกระบวนการ และด้านการนำองค์กร

การเข้าประเมินผลตามแนวทาง TQA

อย่างไรก็ตาม การเข้าประเมินผลตามแนวทาง TQA นั้น หน่วยงานที่เข้าระบบประเมินจะใช้เวลาเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลประมาณ 3 - 5 ปี ตามขั้นตอนที่กำหนด 11 ขั้นตอน ได้แก่
  1. กำหนดขอบเขตของการประเมิน
  2. กำหนดกลุ่มผู้ทำหน้าที่
  3. กำหนดรูปแบบวิธีการ
  4. จัดทำโครงร่างองค์กร
  5. ฝึกประเมินตนเอง
  6. จัดตั้งทีมงานประเมินในแต่ละหัวข้อ
  7. ดำเนินการประเมินองค์กร
  8. วิเคราะห์โอกาสในการปรับปรุงและจัดลำดับ
  9. จัดทำแผนปรับปรุงแก้ไข
  10. ประเมินและปรับปรุงกระบวนการ
  11. สมัครเข้ารับการประเมิน

เกณฑ์การประเมิน TQA

คะแนน
กระบวนการ (หมวด 1-6)
0% หรือ 5%• ไม่มีแนวทางอย่างเป็นระบบให้เห็น มีสารสนเทศน้อยและไม่ชัดเจน (A)
• แทบไม่ปราฏหลักฐานการนำแนวทางที่เป็นระบบสู่การปฏิบัติ (D)
• ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวคิดในการปรับปรุง (Improement Oientation) มีการปรับปรุงเมื่อเกิดปัญหา (L)
• ไม่แสดงให้เห็นว่ามีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันในระดับองค์กร แต่ละพื้นที่หรือหน่วยงานดำเนินการอย่างเอกเทศ (I)
10%, 15%,
20% หรือ 25%

• แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีแนวทางอย่างเป็นระบบที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดพื้นฐานของหัวข้อ (A)
• การนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นในเกือบทุกพื้นที่หรือหน่วยงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุข้อกำหนดพื้นฐานของหัวข้อ (D)
• แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งรับปัญหามาเป็นแนวคิดในการปรับปรุงทั่วๆ ไป (L)
• มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับพื้นที่หรือหน่วยงานอื่น ส่วนใหญ่เกิดจากการร่วมกันแก้ปัญหา (I)

 
30%, 35%,
40% หรือ 45%

• แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดพื้นฐานของหัวข้อ (A)
• มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ถึงแม้ว่าบางพื้นที่หรือบางหน่วยงานเพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้น (D)
• แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีแนวทางอย่างเป็นระบบในการประเมินและปรับปรุงกระบวนการที่สำคัญ (L)
• เริ่มมีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการพื้นฐานขององค์กร ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในเกณฑ์หัวข้ออื่นๆ (I)

 
50%, 55%,
60% หรือ 65%

• แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดโดยรวมของหัวข้อ (A)
• มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าอาจแตกต่างกันในบางพื้นที่หรือบางหน่วยงาน (D)
• มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และเริ่มมีการเรียนรู้ในระดับองค์กร รวมถึงการสร้างนวัตกรรมบ้าง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการที่สำคัญ (L)
• มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการโดยรวมขององค์กร  ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในเกณฑ์หัวข้ออื่นๆ (I)

 
70%, 75%,
80% หรือ 85%

• แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดย่อย ของหัวข้อ (A)
• มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติเป็นอย่างดีโดยไม่มีความแตกต่างที่สำคัญ (D)
• กระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และการเรียนรู้ในระดับองค์กร รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการ มีการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อันเป็นผลจากการวิเคราะห์และการแบ่งปันระดับองค์กร (L)
• มีแนวทางที่บูรณาการกับความต้องการขององค์กรในปัจจุบันและอนาคต ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในเกณฑ์หัวข้ออื่นๆ (I)

 
90%, 95%
หรือ 100%

• แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดต่างๆ ของหัวข้ออย่างสมบูรณ์ (A)
• มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีจุดอ่อนหรือความแตกต่างที่สำคัญ ในพื้นที่หรือหน่วยงานใดๆ (D)
• กระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และการเรียนรู้ในระดับองค์กรด้วยการสร้างนวัตกรรมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการทั่วทั้งองค์กร มีการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนทั่วทั้งองค์กรว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและนวัตกรรมมีพื้นฐานจากการวิเคราะห์ และการแบ่งปันในระดับองค์กร (L)
• มีแนวทางที่บูรณาการกับความต้องการขององค์กรในปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างดี ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในเกณฑ์หัวข้ออื่นๆ (I) 

 

คะแนน
ผลลัพธ์ (หมวด 7)
0% หรือ 5%
• ไม่มีการรายงานผลการดำเนินการขององค์กร หรือมีผลลัพธ์ที่ไม่ดีในหัวข้อที่รายงานไว้ (Le)
• ไม่แสดงแนวโน้มของข้อมูล หรือมีข้อมูลที่แสดงแนวโน้มในทางลบเป็นส่วนใหญ่ (T) 

• ไม่มีการรายงานสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ (C)
• ไม่มีการรายงานผลลัพธ์ในเรื่องที่มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร (I) 

 
10%, 15%,
20% หรือ 25%
• มีการรายงานผลการดำเนินการขององค์กรเพียงบางเรื่องที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดพื้นฐานของหัวข้อ และมีระดับผลการดำเนินการที่เริ่มดี (Le)
• มีการรายงานแนวโน้มของข้อมูลในบางเรื่อง โดยบางเรื่องแสดงแนวโน้มในทางลบ (T)
• แทบไม่มีการรายงานสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ (C)
• มีการรายงานผลลัพธ์เพียงบางเรื่องที่มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจ (I)
30%, 35%,
40% หรือ 45%
• มีการรายงานผลการดำเนินการที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดพื้นฐานของหัวข้อ และผลอยู่ในระดับที่ดี (Le)
• มีการรายงานแนวโน้มของข้อมูลบางเรื่อง และข้อมูลส่วนใหญ่ที่แสดงนั้นมีแนวโน้มที่ดี (T)
• เริ่มมีสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ (C)
• มีการรายงานผลลัพธ์ในหลายเรื่องที่มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร (I)
50%, 55%,
60% หรือ 65%
• มีการรายงานผลการดำเนินการที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดโดยรวมของหัวข้อและผลอยู่ในระดับที่ดี(Le)
• แสดงถึงแนวโน้มที่ดีอย่างชัดเจนในเรื่องต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร (T)
• ผลการดำเนินการในปัจจุบันบางเรื่องอยู่ในระดับที่ดี เมื่อเทียบเคียงกับตัวเปรียบเทียบ และ/หรือระดับเทียบเคียงที่เหมาะสม (C)
• มีการรายงานผลการดำเนินการขององค์กรเป็นส่วนใหญ่ด้านลูกค้าที่สำคัญ ตลาดที่สำคัญ และข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการ (I)
70%, 75%,
80% หรือ 85%
• มีการรายงานผลการดำเนินการที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดย่อย ของหัวข้อและผลอยู่ในระดับที่ดีถึงดีเลิศ (Le)
• สามารถรักษาแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องในเรื่องสำคัญที่จะบรรลุพันธกิจขององค์กรไว้ได้เป็นส่วนใหญ่ (T)
• มีการเปรียบเทียบแนวโน้มและระดับผลการดำเนินการในปัจจุบันเป็นจำนวนมากหรือเป็นส่วนใหญ่กับตัวเปรียบเทียบ และ/หรือระดับเทียบเคียง และแสดงถึงความเป็นผู้นำในบางเรื่อง และมีผลการดำเนินการเชิงเปรียบเทียบที่ดีมาก (C)
• มีการรายงานผลการดำเนินการขององค์กรเป็นส่วนใหญ่ ในด้านลูกค้าที่สำคัญ ตลาดที่สำคัญ รวมทั้งข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการและแผนปฏิบัติการ (I)
90%, 95%
หรือ 100%
• มีการรายงานผลการดำเนินการที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดย่อย ของหัวข้ออย่างสมบูรณ์ และอยู่ในระดับที่ดีเลิศ (Le)
• สามารถรักษาแนวโน้มที่ดีไว้ได้อย่างต่อเนื่องในเรื่องสำคัญทุกเรื่องที่จะบรรลุพันธกิจขององค์กร (T)
• แสดงถึงความเป็นผู้นำในธุรกิจและเป็นระดับเทียบเคียงให้องค์กรอื่นในหลายเรื่อง (C)
• มีการรายงานผลการดำเนินการขององค์กรและการคาดการณ์ผลการดำเนินการในด้านลูกค้าที่สำคัญ ตลาดที่สำคัญ รวมทั้งข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการและแผนปฏิบัติการเกือบทั้งหมด (I)