วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
1.ลักษณะเด่น
การ เรียนรู้แบบโครงงานเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเองหรือของ กลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในชีวิตจริงได้
                การ เรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกัน ได้แก่กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ การสอนแบบปริศนาความคิด และการสอนแบบร่วมกันคิด ทั้งนี้มุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากความสนใจอยากรู้ อยากเรียนของผู้เรียนเอง โดยใช้กระบวนการและวิธีทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้มาไม่จำเป็นต้องตรงกับตำรา แต่ผู้สอนจะสนับสนุนให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ และปรับปรุงความรู้ที่ได้ให้สมบูรณ์
2.แนวคิดสำคัญ
                การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของบลูม (Blom) ทั้ง 6 ขั้น กล่าวคือ
-          ความรู้ความจำ (Knowledge)
-          ความเข้าใจ (Comprehension)
-          การนำไปใช้ (Application)
-          การวิเคราะห์ (Analysis)
-          การสังเคราะห์ (Synthesis)
-          การประเมินค่า (Evaluation)
และ ยังเป็นกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ผลผลิต และการประเมินผลงานโดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนรู้
3.กระบวนการสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
                ระยะที่ 1 การเริ่มต้นโครงงาน
                                  เป็น ระยะที่ผู้สอนต้องสังเกต/สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน จากนั้นตกลงร่วมกันในการเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาอย่างละเอียด ผู้สอนสร้างความสนใจให้เกิดกับผู้เรียนซึ่งมีหลายวิธี โดยอาจศึกษาเรื่องจากการบอกเล่าของผู้ใหญ่หรือผู้รู้ จากประสบการณ์ของผู้เรียน/ผู้สอน จากเอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อต่าง ๆ จาการเล่นของผู้เรียน จากความคิดที่เกิดขึ้น จากวัตถุสิ่งของที่ผู้สอนนำมาในห้องเรียน หรือจากตัวอย่างโครงงานที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว เป็นต้น
                                เมื่อ ผู้เรียนเกิดความสนใจก็จะถึงกระบวนการกำหนดหัวข้อโครงงาน โดยนำเรื่องที่ผู้เรียนสนใจมาอภิปรายร่วมกัน แล้วกำหนดเรื่องนั้นเป็นหัวข้อโครงงานทั้งนี้จะต้องคำนึงว่าการกำหนดหัวข้อ โครงงานนั้นจะกระทำหลังจากการตรวจสอบสมมติฐานเสร็จสิ้นแล้ว
                ระยะที่ 2 ขั้นพัฒนาโครงการ
                                เป็น ขั้นที่ผู้เรียนกำหนดหัวข้อคำถาม หรือประเด็นปัญหา ที่ผู้เรียนสนใจอยากรู้ แล้วตั้งสมมติฐานเพื่อตอบคำถามเหล่านั้น มีการทดสอบสมมติฐานด้วยการลงมือปฏิบัติ จนค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ตามขั้นตอนดังนี้
                                1.ผู้เรียนกำหนดปัญหาที่จะศึกษา
                                2.ผู้เรียนตั้งสมมติฐานเบื้องต้น
                                3.ผู้เรียนตรวจสอบสมมติฐานเบื้องต้น
                                4.ผู้เรียนสรุปข้อความรู้จากผลการตรวจสอบสมมติฐาน
                                ใน กรณีที่ผลการตรวจสอบไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ผู้สอนควรให้กำลังใจผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติม สิ่งที่ไม่ควรกระทำคือ การตำหนิหรือกล่าวโทษ ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนมีกำลังใจจนสามารถตั้งสมมติฐานใหม่ได้
                                ในกรณีที่ผลการตรวจสอบเป็นไปตามสมมติฐาน ให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้จากการค้นพบด้วยการลงมือปฏิบัติของผู้เรียนเอง
                                เมื่อได้องค์ความรู้ใหม่แล้ว ผู้เรียนจะนำองค์ความรู้นั้นไปใช้ในการทำกิจกรรมตามความสนใจต่อไปได้  ผู้ เรียนอาจใช้ความรู้ที่ค้นพบเป็นพื้นฐานของการกำหนดประเด็นปัญหาขึ้นมาใหม่ เพื่อกำหนดเป็นโครงงานย่อยและศึกษารายละเอียดในเรื่องนั้นต่อไปอีก
                ระยะที่ 3 ขั้นสรุป
                                เป็น ระยะสุดท้ายของโครงงานที่ผู้เรียนค้นพบคำตอบของปัญหาแล้ว และได้แสดงให้ผู้สอนเห็นว่าได้สิ้นสุดความสนใจในหัวข้อโครงงานเดิม และเริ่มหันเหความสนใจไปสู่เรื่องใหม่ ระยะนี้เป็นระยะที่ผู้สอนและผู้เรียนจะได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานและแสดง ให้เห็นถึงความสำเร็จของการทำงานตลอดโครงการแก่คนอื่น ๆ มีกิจกรรมที่ผู้สอนให้ผู้เรียนดำเนินการในขั้นตอนนี้ ดังนี้
-          ผู้เรียนเขียนรายงานเป็นรูปแบบงานวิจัยเล็ก ๆ
-          ผู้เรียนนำเสนอผลงาน (แสดงเป็นแผงโครงงาน) ให้ผู้ที่สนใจรับรู้สรุปและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
4.ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
                1.ขั้น นำเสนอ หมายถึง ขั้นที่ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้ กำหนดสถานการณ์ ศึกษาสถานการณ์ เกม รูปภาพ หรือการใช้เทคนิคการตั้งคำถามเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดในแผนการ จัดการเรียนรู้แต่ละแผน เช่น สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ที่เป็นขั้นตอนของโครงงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการเรียนรู้
                2.ขั้นวางแผน หมายถึง ขั้นที่ผู้เรียนร่วมกันวางแผน โดยการระดมความคิด อภิปรายหารือข้อสรุปของกลุ่ม
                3.ขั้นปฏิบัติ หมายถึง ขั้นที่ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม เขียนสรุปรายงานผลที่เกิดขึ้นจากการวางแผนร่วมกัน
                4.ขั้น ประเมินผล หมายถึง ขั้นการวัดและประเมินผลตามสภาพจิรง โดยให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีครู ผู้เรียนและเพื่อนร่วมกันประเมิน
5.แนวทางการจัดการการเรียนรู้
                การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน มี 2 แนวทาง ดังนี้
                5.1 การจัดกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเลือกศึกษาโครงงานจากสิ่งที่สนใจอยากรู้ที่ มีอยู่ในชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อมในสังคม หรือจากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ยังต้องการคำตอบ ข้อสรุป ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ในบทเรียนของหลักสูตร มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
                                1) ตรวจสอบ วิเคราะห์ พิจารณา รวบรวมความสนใจของผู้เรียน
                                2) กำหนดประเด็นปัญหา/หัวข้อเรื่อง
                                3) กำหนดวัตถุประสงค์
                                4) ตั้งสมมติฐาน
                                5) กำหนดวิธีการศึกษาและแหล่งเรียนรู้
                                6) กำหนดเค้าโครงของโครงงาน
                                7) ตรวจสอบสมมติฐาน
                                8) สรุปผลการศึกษาและการนำไปใช้
                                9) เขียนรายงานวิจัยแบบง่าย ๆ
                                10) จัดแสดงผลงาน
                5.2 การ จัดกิจกรรมตามสาระการเรียนรู้ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดเนื้อหาสาระตามที่หลักสูตรกำหนด ผู้เรียนเลือกทำโครงงานตามสาระการเรียนรู้ จากหน่วยเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียน นำมาเป็นหัวข้อโครงงาน มีขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการ ดังต่อไปนี้
                                1) เริ่มจากการศึกษาเอกสารหลักสูตร คู่มือครู
                                2) วิเคราะห์หลักสูตร
                                3) วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อแยกเนื้อหา จุดประสงค์และกิจกรรมให้เด่นชัด
                                4) จัดทำกำหนดการสอน
                                5) เขียนแผนการจัดการเรียนรู้
                                6) ผลิตสื่อ จัดหาแหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                                7) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
                                                7.1 แจ้งจุดประสงค์ เนื้อหาของหลักสูตรให้ผู้เรียนทราบ
                                                7.2 กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในขอบเขตของเนื้อหาและจุดประสงค์ในหลักสูตร
                                                7.3  จัดกลุ่มผู้เรียนตามความสนใจ
                                                7.4  ผู้สอนใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น                 
                                                - ทำไมผู้เรียนจึงสนใจอยากเรียนเรื่องนี้ (แนวคิด/แรงดลใจ)
                                                - ผู้เรียนสนใจเกี่ยวกับอะไรบ้าง (กำหนดเนื้อหา)
                                                - ผู้เรียนอยากเรียนรู้เรื่องนี้เพื่ออะไร (กำหนดจุดประสงค์)
                                                - ผู้เรียนจะทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้ในเรื่องนี้ (กำหนดวิธีศึกษา/กิจกรรม)
                                                - ผู้เรียนจะใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการศึกษาครั้งนี้ (กำหนดสื่ออุปกรณ์)
                                                - ผู้เรียนจะไปศึกษาที่ใดบ้าง (กำหนดแหล่งความรู้ แหล่งข้อมูล)
                                                - ผลที่ผู้เรียนคาดว่าจะได้รับคืออะไรบ้าง (สรุปความรู้/สมมติฐาน)
                                                - ผู้เรียนจะทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าผลงานของผู้เรียนดีหรือไม่ดีอย่างไร จะให้ใครเป็นผู้ประเมิน (กำหนดการวัดและประเมินผล)
                                                - ผู้เรียนจะเผยแพร่ผลงานให้ผู้อื่นรู้ได้อย่างไร (นำเสนอผลงาน,รายงาน)
                                                7.5 ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาตามที่ตกลงกันไว้ (จากคำถามที่ผู้สอนซักถาม) ภายใต้กรอบเวลาในแต่ละครั้ง ถ้ายังไม่สำเร็จให้ศึกษาต่อในคาบต่อไป
                                                7.6 ผู้เรียนทุกคนต้องสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยการเรียนของผู้เรียนและสามารถนำเสนอความรู้ที่ได้แก่เพื่อน ๆ และผู้สอนได้
                                                7.7 ผู้เรียนเขียนรายงานวิจัยแบบง่าย ๆ และแสดงผลงานในรูแผงโครงงาน
                                8.ผู้สอนจัดแหล่งความรู้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
                                9.ผู้สอนเขียนบันทึกผลการเรียนรู้
6.บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
บทบาทของผู้สอน
1.จัดให้มีการปฐมนิเทศวิธีการเรียนรู้แบบ     โครงงาน เพื่อให้รู้ถึงหลักการ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ ตัวแปร ปัจจัยสำคัญในการทำโครงงาน ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ อันอาจเกิดขึ้น
2.ให้คำปรึกษาในการดำเนินงานของผู้เรียนทุกขั้นตอน
3.ติดตาม สอบถามความก้าวหน้า ดูแลการทำโครงงานของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด
4.สังเกตุและประเมินการทำกิจกรรมของผู้เรียน
5.สรุปการทำงานและเสนอแนะการทำงานของผู้เรียนแต่ละกลุ่มโดยรวม
บทบาทของผู้เรียน
1.เสนอแนวคิด เลือกและกำหนดหัวข้อโครงงาน
2.เสนอแนวทาง ออกแบบการทำโครงงาน
3.วางแผนร่วมกันในการเรียนรู้แบบโครงงาน
4.ศึกษาค้นคว้าเอกสารเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
5.เสนอเค้าโครงย่อของโครงงานต่อผู้สอน
6.ลงมือปฏิบัติโครงงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้
7.รวบรวมผลการทำโครงงาน
8.เสนอแนวทางแก้ไข ปรับปรุงผลการทำโครงงาน
9.เขียนรายงานหรือนำเสนอผลงานโครงงานต่อผู้สอน
10.เผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชน
11.ประเมินผลการเรียนรู้แบบโครงงานของตน

7.ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับใช้
                1.ผู้สอนสามารถนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้กับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และผู้เรียนทุกช่วงชั้น
                2.ผู้ สอนควรใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงาน สลับสับเปลี่ยนกับรูปแบบการเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
                3.ผู้ เรียนควรได้รับการฝึกการเรียนรู้แบบโครงงาน เพราะเป็นการฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน และการทำงานระบบกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ
                4.โครง งานแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จะมีลักษณะแตกต่างกัน ผู้สอนควรทำความเข้าใจธรรมชาติของสาระวิชาที่ตนรับผิดชอบ เรียนรู้รูปแบบและทฤษฎีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานให้แม่นยำเพื่อสร้างความ สำเร็จให้เกิดขึ้นในใจของผู้เรียน

จาก การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน จะเห็นได้ว่าการเรียนการสอนแบบนี้ผู้เรียนจะได้ประโยชน์อย่างมาก ทั้งประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม การทำงานเพื่อประโยชน์ต่อคนอื่น การทำงานแบบรวมกลุ่ม ทำงานเป็นทีม เป็นการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีการวางแผน คิดวิเคราะห์ ใช้การสื่อสาร การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รู้จัดขจัดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการบริหารจัดการตนเอง และทีมงาน เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายที่คาดหวังไว้ ซึ่งในอนาคตการทำงานต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะได้พบจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ ซึ่งอาจมีขั้นตอนรายละเอียดมากขึ้น แต่ผู้เรียนก็สามารถทำงานเหล่านั้นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับงาน ที่ทำได้อย่างดี  เช่นการจัดทำแผนกลยุทธ์
การ ทำแผนปฏิบัติราชการ ซึ่งใช้ในส่วนราชการต่าง ๆ เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล)อ้างอิงhttp://www.learners.in.th/blogs/posts/257788