วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้:ทิศทางสำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ

สาระสำคัญกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
        การจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สถานศึกษาแต่ละแห่ง ควรแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ ของ กระทรวงศึกษาธิการ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ รวมทั้งจุดเน้นและอัตลักษณ์ของโรงเรียน เป็นต้น แล้ววางแผน หรือกำหนดกิจกรรมของโรงเรียน
           กิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อกิจกรรม เวลาที่ใช้ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์หรือสื่อที่จำเป็นต้องใช้ ผลที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน และแต่ละส่วน มีข้อควรคำนึง ดังนี้ ๑. ชื่อกิจกรรม กำหนดให้ชัดเจน ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ๒. เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ควรใช้เวลาประมาณหนึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง  ๓. วัตถุประสงค์ ควรอยู่ในกรอบที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้อย่างมีความสุข มีความพึงพอใจ ๔. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ควรให้ผู้เรียนได้ศึกษา คิดวิเคราะห์ เตรียมการ ลงมือปฏิบัติ สรุปและชื่นชมผลงาน รวมทั้งจัดเก็บกวาดดูแลรักษาบริเวณที่จัดกิจกรรมให้อยู่ในสภาพดีดังเดิม ๕. สื่อการเรียนรู้ ควรจัดให้เหมาะสมกับกิจกรรมและเพียงพอกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๖. การประเมินผลเน้นการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม ความสำเร็จของงาน และ ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
         
          จากสาระข้างต้นสรุปง่าย ๆ คือ เราเพิ่มวิชากิจกรรมมากขึ้นนั่นเองจากเดิมสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์ละ 10 ชั่วโมงโดยประมาณ นั่นหมายความว่าโรงเรียนต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดสอนหรือจัดกิจกรรมอย่างเหมาะสมคือ
           1. เตรียมครูผู้สอนรายวิชาสามัญไปพัฒนาเป็นการสอนกิจกรรมเพิ่มขึ้น
           2. เตรียมอาคารสถานที่ที่จะรองรับกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจผู้เรียน
           3.เตรียมคู่มือ และแผนกิจกรรมเพื่อการปฏิบัติ
           4. เตรียมระบบกำกับติดตาม ประเมินผลกิจกรรมที่สามารถวัดผลได้จริงว่ากิจกรรมที่จัดบรรลุผลสัมฤทธิ์หรือไม่อย่างไร

           คำถามคือโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษพร้อมหรือยัง....เป็นคำถามที่น่าสนใจยิ่งครับ เพราะนักเรียนจำนวนมหาศาลจะออกจากห้องเรียนมาทำกิจกรรม...อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรียนรู้เด็ก Gen Z

  ตอนนี้เรื่อง Gen Y กำลังเป็นที่พูดถึงกันมากในสังคม มีบทความมากมายบอกเล่าถึงลักษณะของ Gen Y เช่น บทความพร้อมแบบทดสอบ "คุณเป็นคน Gen ไหน? โปรดเข้าใจ! เมื่อรุ่นใหญ่ปะปะรุ่นเล็ก!แต่ก็เชื่อได้ว่าวัยรุ่นชาว Dek-D ส่วนใหญ่ตอนนี้น่าจะเกิดหลังปี 1995 หรือก่อนหน้านี้ไม่กี่ปี ซึ่งถ้านับรุ่นกันแล้วน่าช่วงรอยต่อระหว่างรุ่นเป็นปลายๆ Gen Y และเป็นชาว Gen Z เต็มตัว แต่เรื่องของ Gen Z ยังมีไม่มากนัก เพราะยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนต้น และ Gen Y เองก็กำลังมีบทบาทในสังคมมากกว่า และนี่คือการประมวลเนื้อหาจากข้อมูลที่มีมานำเสนอค่ะ  ก็ Gen Z ในวันนี้กำลังเติบโตเช่น เราควรมารู้จักชาว Gen Z ที่กำลังจะเป็นรุ่นใหม่ในสังคมกันก่อน! 
ลักษณะ Gen Z สุดเป๊ะ! ของคนเกิดหลัง 1995  
ลักษณะ Gen Z สุดเป๊ะ! ของคนเกิดหลัง 1995
1. สมาร์ทโฟนเป็นอวัยวะของชาว Gen Z

       โทรศัพท์มือถือ ทั้งกลุ่มสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตถือว่าเป็นอวัยวะที่ 33 ของชาว Gen Z ต้องมีลูกเล่นหลายอย่างทั้งโทร ทั้งแชต ถ่ายรูป ฟังเพลง เล่นเกม ดูคลิป ฯลฯ ที่ตอบสนองวงจรชีวิตดิจิทัล โลกออนไลน์สำหรับชาว Gen Z ไม่ใช่โลกเสมือนแต่คือโลกความจริงอีกโลกเลยทีเดียว ฝรั่งให้ลักษณะของ Gen Z ว่า Digital in their DNA เลยทีเดียว โลกดิจิทัลสำหรับคนรุ่นนี้ สำคัญยิ่งกว่าตัวเงินจริงๆ เพราะไม่มีเงินยังยืมเพื่อนได้ แต่ถ้าไม่มีโทรศัพท์ (ไว้แชตหรืออื่นๆ) แทบจะเฉาตายเลยนะเออ 

2. Gen Z เป็นมนุษย์ข้อมูลและสถิติที่ห่วงอนาคต
         Gen Z ติดโลกออนไลน์ จึงรับข้อมูลข่าวสารมากกมายอย่างรวดเร็ว ทั้งข่าวทันโลก และวิเคราะห์สถิติเรื่องต่างๆ เพื่อคาดการณ์อนาคต ดังนั้น ชาว Gen Z จึงเป็นทั้งคนชอบตัดสินใจทำอะไรอย่างรวดเร็ว ไม่ชอบรอคอย แต่ก็เป็นคนที่กลัวอนาคตด้วย เรียนอะไรดีไม่ตกงาน อาชีพอะไรมั่นคง มีแนวโน้มว่าจะเลือกงานที่เงินดีมากกว่าที่ชอบจริงๆ ข้อมูลที่เข้าหาชาว Gen Z อาจทำให้ Gen Z เองกลายเป็นคนที่กลัวที่จะตัดสินใจเรื่องอาชีพการงานในอนาคต ข้อมูลมาก ก็กลัวมากนั่นเอง 
3. Gen Z เชื่อมโลก เชื่อมวัฒนธรรม
           คน Gen Z เปิดกว้างทางความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างมากขึ้น เพราะเพียงลัดนิ้วเดียว ก็สามารถคุยกับเพื่อนต่างชาติที่มีจากอีกซีกโลกได้ แม้ว่าจะต่างพื้นฐานวัฒนธรรมก็อาจมีความชอบความบันเทิงเดียวกัน ซึ่งการเชื่อมโลกแบบนี้ ทำให้ Gen Z มีความรู้สึกเปิดกว้างในการยอมรับความแตกต่างได้ง่ายมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะปรับทัศนคติได้ดี ไม่แบ่งแยกชนชั้น สีผิว ศาสนา หรือประเพณีที่แตกต่าง แต่ก็อาจจะยิ่งเทิดทูนความเป็นทุนนิยมมากขึ้น
4. Gen Z ทำเพื่อตัวเองก่อน
            มีผลการศึกษาที่สอบถามว่าหากชาว Gen Z มีเงิน หรือได้เงินมากจากงานใดๆ ก็ตามมีแนวโน้มที่จะใช้เงินเพื่อตัวเองก่อน เช่น ซื้อของที่อยากได้ แล้วใช้เก็บออมเป็นอันดับต่อมา และเพียงประมาณ 10 เปอร์เซ็นเพื่อการกุศล แต่อย่างไรก็ตามชาว Gen Z ค่อนข้างจะรู้สึกมีส่วนร่วมกับสถานภาพฐานะของครอบครัว จะพิจารณาว่าจะซื้ออะไร หรือจะทำอะไรเพื่อช่วยครอบครัวประหยัดมากขึ้น มีนิสัยที่จะพยายามทำอะไรด้วยตนเองมากขึ้น เรียกร้องสิทธิ์ตัวเอง ชอบอิสระเสรี รู้จักเก็บออมเพื่ออนาคตมากขึ้น แต่ก็ตามลักษณะนิสัยพื้นฐานของแต่ละคนด้วย
ลักษณะ Gen Z สุดเป๊ะ! ของคนเกิดหลัง 1995
5. Gen Z มีแนวโน้มเป็นมนุษย์หลายงาน ความอดทนต่ำ
             ชีวิตดิจิทัลที่รวดเร็วทำให้เด็กรุ่น Gen Z มีความอดทนรอคอยต่ำ ชอบทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันในมุมหนึ่งอาจมองว่าการทำหลายๆ อย่างพร้อมกันเป็นเรื่องดูเก่ง แต่จริงๆ การทำการบ้าน ฟังเพลง ดูทีวี แชตกับเพื่อน และคุยกับแม่ หรืออื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน ทำให้ประสิทธิภาพในการรับรู้และการทำงานแต่ละชิ้นลดลงโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งในส่วนนี้พ่อแม่ของชาว Gen Z ต้องสอนให้เด็กรุ่นนี้มีสมาธิกับงานด้วย ที่สำคัญต้องระมัดระวังอย่าให้ติดอยู่ในโลกดิจิทัลมากนัก ไม่อย่างนั้นอาจมีปัญหาติดเทคโนโลยีอย่างอาการติดอินเทอร์เน็ต (Internet addiction) อาการความจำเสื่อมเพราะโลกดิจิตอล (Digital Dementia) เป็นต้น
6. Gen Z ยังต้องการความรักและความห่วงใย
               แม้ Gen Z จะมี DNA เป็นรหัสดิจิทัล แต่การพูดคุยติดต่อผ่านเทคโนโลยีอย่าง facebook หรือโซเซียลมีเดียอื่นๆ ก็ยังไม่สามารถแทนที่การคุยจริงๆ ได้ แม้จะมีอิโมติคอนมากมายก็ตามแต่เรื่องบางเรื่องข้อความไม่สามารถสื่อความรู้สึกที่แท้จริงได้ และเด็กๆ ทุกคนก็ยังต้องการความเข้าใจจากผู้ใหญ่ อันเป็นพื้นฐานของมนุษย์อยู่แล้ว ยังอยากให้ผู้ใหญ่แสดงความรู้สึกห่วงใย แม้ว่าจะต้องการโลกส่วนตัวขนาดไหนก็ตาม ผู้ใหญ่ต้องปรับตัวมากที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วของเทคโนโลยีเท่าๆ กับที่วิถีของชาว Gen Z ที่รวดเร็วเช่นกัน
ลักษณะ Gen Z สุดเป๊ะ! ของคนเกิดหลัง 1995
7. โลกเร็ว ฉันเร็ว
               ฮีโร่ของ Gen Z มักเป็นคนดังที่อายุใกล้เคียงตัวเอง ที่สร้างแรงบันดาลใจได้ อย่างดารา นักร้อง นักเขียน มากกว่าฮีโร่ตัวอย่างเศรษฐีพันล้านที่ประสบความสำเร็จจากเสื่อผืนหมอนใบแบบเมื่อสามสิบก่อน เพราะเทคโนโลยีตอบสนองได้แทบทุกอย่าง ชาว Gen Z จึงคิดว่า "ทำได้ทุกอย่าง"  ดังนั้นชาว Gen Z แล้ว แทบจะไม่เข้าใจในเรื่อง ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงามเท่าไหร่ ชอบที่จะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แบบฮีโร่คนดังแต่เด็กทั้งหลาย สิ่งที่ทำ ก็อยากให้เห็นผลเร็วๆ แต่ในชีวิตจริง มันไม่มีอะไรที่ได้ผลรวดเร็วเสมอไป ดังนั้นวัยรุ่น Gen Z และครอบครัวต้องสอนเรื่องช้าๆ แต่ชัวร์ หรือ การค่อยๆ พยายามสั่งสมเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่สำเร็จ
8. Gen Z เป็นเจ้าหนูจำไม (ทำไม)
             ชาว Gen Z ต้องการคำอธิบายมากขึ้น ต้องมีเหตุผล ต้องรู้สึกว่าได้เข้าใจกับทุกเรื่องในชีวิต อยากมีส่วนร่วมในครอบครัว ต้องการตัดสินใจชีวิตตัวเอง (แม้จะสับสนและกลัวอนาคตก็ตาม) ดังนั้นจึงกล้าคิดกล้าและกล้าถามมากขึ้นกว่าคนรุ่นก่อน หมดยุคของการที่วัยรุ่น Gen Z (และ Gen Y ตอนปลาย) จะยอมรับเหตุผลแค่ว่า "ไม่ต้องยุ่งหรอก เรื่องของผู้ใหญ่" แล้ว ผู้ใหญ่จึงควรเปิดโอกาสให้ Gen Z คิด และแสดงความคิดเห็นเรื่องในครอบครัวด้วย หากกีดกันหรือไม่อธิบายอะไรจะระเบิดได้ง่ายๆ หรือหากไม่พอใจคำอธิบาย เขาก็จะไปหาคำอธิบายจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจจะมีทั้งดีและร้ายปะปนกันไป ดังนั้นควรการเปิดโอกาสให้ได้คิด สอนการแสดงเหตุผลอย่างถูกต้อง อธิบายย่างตรงไปตรงมาดีกว่า 
ลักษณะ Gen Z สุดเป๊ะ! ของคนเกิดหลัง 19959. Gen Z หาความรู้ได้ทุกที่
         การเรียนรู้ของชาว Gen Z เน้นผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น ถ้าสามารถจัดห้องเรียน จัดบ้านนำเอาเทคโนโลยีมาเสริมกับกิจกรรม ให้แรงจูงใจ มีการแข่งขัน มีรางวัล จะช่วยให้ชาว Gen Z กระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้น บอกเลยว่า Gen Z เกลียดการเรียนแบบบรรยายมากๆ แล้วก็ชอบข้อมูลแนวกราฟ ภาพ สถิติชัดเจน เน้นข้อมูลสั้นๆ ที่เข้าใจง่ายๆ เพราะมีแนวโน้มว่าชาว Gen Z จะเริ่มต้นจดจำข้อมูลได้ดีจากข้อมูลสั้นๆ เหล่านี้ ตามแบบฉบับโลกออนไลน์ที่ข้อมูลไหลเร็วไงล่ะ  ที่สำคัญชาว Gen Z มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ดังนั้นจึงเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้อย่างไม่จำกัด ครูและพ่อแม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตมาเป็นสื่อในการเรียนรู้ได้ แต่ก็ต้องตามทันลูกหลานด้วยนะ!
 
       จริงๆ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็เป็นสิ่งต้องระมัดระวังสำหรับชาว Gen Z คือ การใกล้ชิดติดแหง็กกับเทคโลโลยีเกินไป หากมากไปก็เป็นโรค ขาดเทคโนโลยีไปก็อึดอัดทำอะไรไม่ได้ โลกออนไลน์เข้าถึงได้ง่าย มิจฉาชีพก็เข้ามาง่ายเช่นกัน แถมยังต้องระวังทักษะเรื่องทางสังคมจะหดหายไป โลกส่วนตัวสูง มีการศึกษาในสหรัฐและอังกฤษบอกว่า Gen Z ส่วนใหญ่กลับรู้สึกว่าการพูดผ่านเทคโนโลยีง่ายกว่าพูดกับตัวเป็นๆ คนจริงๆ เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ต้องผลักดันให้ชาว Gen Z ออกมามีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนจริงๆ ด้วย


             แน่นอนว่า ตอนนี้ทุกคนกำลังมุ่งความสนใจไปที่ Gen Y แต่อย่าลืมว่า Gen Z ก็เกิดมาแล้ว และอีกไม่กี่ปีก็ต้องเป็นรุ่นที่จะมาพัฒนาประเทศต่อไปแน่นอน รู้จักลักษณะของ Gen Z ก็ไม่เสียหายนะ! 
           อ้างอิง ..http://www.dek-d.com/education/32292/

การศึกษาสำหรับเด็กยุค Gen Z

อีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า สังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มขั้น สวนทางกับอัตราการเกิดที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผู้หญิงยุคใหม่เป็นเวิร์กกิ้งวูแมนมากขึ้น สนใจเรื่องการทำงานมากกว่าคิดจะมีครอบครัว สาวโสดก็เลยครองเมืองกันเพียบ นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างประชากรไทยกำลังค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป และดูเหมือนว่า ในอนาคตเราอาจจะเผชิญกับสภาวะที่ขาดแคลนแรงงานก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม จริง ๆ แล้ว โครงสร้างของสังคมมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดทุกยุคทุกสมัยอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจในช่วงนั้นที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และคนในแต่ละยุค แต่ละสมัยก็จะมีพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ ความรู้ความสามารถ ค่านิยม การบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไป ทางสหรัฐอเมริกา และโลกตะวันตก จึงได้จัดแบ่งกลุ่มคนออกเป็นรุ่นต่าง ๆ 8 เจเนอเรชั่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเกณฑ์การจัดแบ่งรุ่นนี้ก็เป็นที่นิยมใช้กันไปทั่วโลกด้วย  ...ลองไปตรวจสอบกันดูซิว่า ครอบครัวของคุณ และตัวคุณเอง อยู่ในรุ่นไหนบ้าง และมีอุปนิสัยคล้ายกับข้อมูลต่อไปนี้หรือไม่  
1. Lost Generation  ประชากรยุคแรกที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426-2443 หรือในช่วงทศวรรษที่ 80 ปัจจุบันคนกลุ่มนี้เสียชีวิตไปหมดแล้ว จึงถูกตั้งชื่อว่า "Lost Generation" เหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนยุคนี้ก็คือ การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1  
2. Greatest Generation Greatest Generation หรือที่รู้จักกันว่า G.I. Generation คนกลุ่มนี้เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2444-2467 คือยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาจึงกลายมาเป็นกำลังหลักของการต่อสู้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามสงบ เกิดสภาพเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก คนรุ่นนี้จึงเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจให้กลับมาดีขึ้นอีกครั้ง  ผู้คนในยุคนั้นจะมีความเป็นทางการสูง ผู้ชายจะใส่สูทผูกเนคไทเมื่อออกจากบ้าน คนในสังคมจะมีแบบแผนปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีความคิด ความเห็น ความเชื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เชื่อมั่นรัฐบาล อำนาจรัฐ มีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองร่วมกัน 
3. Silent Generation หมายถึงคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2468-2488 ประชากรรุ่นนี้จะมีไม่มากเท่ารุ่นอื่น ๆ เพราะเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี และหลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ดังนั้น ผู้คนจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ต้องทำงานหนักในโรงงาน หามรุ่งหามค่ำ คนรุ่นนี้จึงมีความเคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมาก มีความจงรักภักดีต่อนายจ้าง และประเทศชาติสูง เคารพกฎหมาย เป็นยุคที่ผู้หญิงเริ่มออกมาทำงานนอกบ้านกันมากขึ้น กระทั่งเวลาผ่านไป เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว คนในรุ่นนี้จึงได้รับโอกาสมากขึ้น มีช่องทางการสร้างกิจการของตัวเอง รวมทั้งมีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นรากฐานจนถึงปัจจุบันนี้  
4. เบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer)  เบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) หรือ Gen-B หมายถึงคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2507 หรือในยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สาเหตุ ที่เรียกว่า "เบบี้บูมเมอร์" ก็เพราะว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง บ้านเมืองที่ผ่านการสู้รบได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประชากรที่เหลืออยู่ในแต่ละประเทศจึงต้องเร่งฟื้นฟูประเทศให้กลับมาแข็ง แกร่งมั่นคงอีกครั้ง แต่ทว่า...สงครามที่ผ่านพ้นไปก็ได้คร่ากำลังพล และแรงงานไปเป็นจำนวนมาก ประเทศเหล่านี้จึงขาดแรงงานในการขับเคลื่อน ประเทศ คนในยุคนั้นจึงมีค่านิยมที่จะต้องมีลูกหลาย ๆ คน เพื่อสร้างแรงงานขึ้นมาพัฒนาประเทศชาติ จึงเป็นที่มาของคำว่า "เบบี้บูมเมอร์" นั่นเอง ปัจจุบันนี้ คนยุคเบบี้บูมเมอร์คือคนที่มีอายุตั้งแต่ 49 ปีขึ้นไป และเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้ว คนกลุ่มนี้จึงเป็นคนที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพกฎเกณฑ์ กติกา มีความอดทนสูง ทุ่มเทให้กับการทำงานและองค์กรมาก สู้งาน พยายามคิดและทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นเจ้าคนนายคน ถูกครอบครัวสั่งสอนมาให้เป็นคนประหยัด อดออม จึงมีการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง คน ในยุคอื่น ๆ อาจจะมองคนยุคเบบี้บูมเมอร์ว่าเป็นพวก "อนุรักษนิยม" เป็นคนที่เคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณี แต่คนกลุ่มนี้ถือว่าน่าจะมีจำนวนมากที่สุดในสังคมปัจจุบันเลยทีเดียว เหตุการณ์สำคัญที่คนในรุ่นนี้เคยประสบ หรือเคยได้ยินก็คือ ข่าวความสำเร็จของการส่งนักบินอวกาศไปเหยียบดวงจันทร์ ข่าวการทำสงครามเวียดนาม เป็นต้น 
5. เจเนอเรชั่น เอ็กซ์ (Generation X) หลัง จากยุคเบบี้บูมเมอร์ส่งผลให้เด็กเกิดมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาก็คือ ทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกนี้ไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้ได้ทุกคน เมื่อเป็นเช่นนี้ ประชาชนจึงกลับมานั่งคิดว่า หากไม่ควบคุมอัตราการเกิดไว้ สุดท้ายแล้วคนทั้งโลกก็จะขาดแคลนอาหาร ดังนั้น จึงเกิดเป็นยุค "เจเนอเร ชั่น เอ็กซ์" (Generation X) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "Gen-X" ที่เป็นกระแสตีกลับจากยุคเบบี้บูมเมอร์ มีการควบคุมอัตราการเกิดของประชากร อย่างเช่นในประเทศจีนก็มีการรณรงค์ให้คนมีลูกได้เพียง 1 คนเท่านั้น  คนยุคนี้จะเกิดอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2508-2522 อาจเรียกอีกชื่อว่า "ยับปี้" (Yuppie) ที่ย่อมาจาก Young Urban Professionals เพราะ เกิดมาพร้อมในยุคที่โลกมั่งคั่งแล้ว จึงใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เติบโตมากับการพัฒนาของวิดีโอเกม, คอมพิวเตอร์, สไตล์เพลงแบบฮิปฮอป และอาจทันดูทีวีจอขาวดำด้วย ปัจจุบัน คนยุค Gen-X เป็นคนวัยทำงาน มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปแล้ว พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ที่เด่นชัดมากก็คือ ชอบอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ ให้ความสำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work–life balance) มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใคร เป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดเปิดกว้าง มีความคิดสร้างสรรค์  อย่างไรก็ตาม หลายคนใน Gen-X มีแนวโน้มที่จะต่อต้านสังคม ไม่ได้เชื่อเรื่องศาสนา และ ไม่ได้ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีมากนัก เป็นคนที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป อย่างเช่นมองว่าการอยู่ก่อนแต่ง หรือการหย่าร้างก็เป็นเรื่องปกติ เช่นเดียวกับเรื่องเพศที่ 3 ซึ่งต่างจากกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ที่มองเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องผิดจารีตประเพณี เป็นอย่างยิ่ง  
6. เจเนอเรชั่น วาย (Generation Y) ถัดจากยุค Gen-X ก็คือ ยุคเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) หรือ ยุค Millennials ซึ่งก็คือคนที่เกิดอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2523–2540 คนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และค่านิยมที่แตกต่างระหว่างรุ่นปู่ย่าตายาย กับ รุ่นพ่อแม่ แต่ก็รับเอาความเจริญรุดหน้าของเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตเข้ามาแทรกอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันด้วย  ยุคนี้จะเป็นยุคที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตเป็นอย่างมาก ทำให้พ่อแม่ที่ค่อนข้างจะประสบความสำเร็จในชีวิตแล้วจะดูแลเอาใจใส่ลูก ๆ เป็นอย่างดี เด็กยุคนี้จึงมักจะถูกตามใจตั้งแต่เด็ก ได้ในสิ่งที่คนรุ่นพ่อแม่ไม่ค่อยได้ มีการศึกษาดี มีลักษณะนิสัยชอบการแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบถูกบังคับให้อยู่กรอบ ไม่ชอบอยู่ในเงื่อนไข ชอบเสพข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลาย มีอิสระในความคิด กล้าซัก กล้าถามในทุกเรื่องที่ตัวเองสนใจ ไม่หวั่นกับคำวิจารณ์ มีความเป็นสากลมาก มองว่าการนิยมชมชอบวัฒนธรรม หรือศิลปินต่างชาติเป็นเรื่องธรรมดา  ปัจจุบัน คนกลุ่มนี้อยู่ในทั้งช่วงวัยเรียน และวัยทำงาน และจากการที่ยุคนี้เป็นยุคที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการ ติดต่อสื่อสาร ชอบงานด้านไอที ใช้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน เรียกได้ว่าสามารถใช้เครื่องมือเครื่องไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว อย่างที่เราอาจจะเคยเห็นภาพคนยุคใหม่ที่นั่งเล่น iPad ไปด้วย คุยโทรศัพท์ไปด้วย แถมบางคนยังกินข้าวไปพร้อม ๆ กันด้วยอีกต่างหาก  ในเรื่องการทำงาน คนกลุ่มนี้ต้องการความชัดเจนในการทำงานว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วย งานอย่างไร และชอบทำงานเป็นทีม ต่างจากกลุ่ม Gen-X ที่ชอบวันแมนโชว์มากกว่า เพราะคนในวัย Gen-X จะถูกฝึกมาแบบนั้น ต่างจากวัย Gen-Y ที่เติบโตมาพร้อมกับการประชุม การระดมความคิดเห็น แต่ทว่าคนกลุ่มนี้จะไม่ค่อยอดทนเหมือนรุ่นพ่อรุ่นแม่นัก หวังที่จะทำงานได้เงินเดือนสูง ๆ แต่ไม่อยากไต่เต้าจากการทำงานข้างล่างขึ้นไป คาดหวังในการทำงานสูง ต้องการคำชม กลุ่ม Gen-Y มักจะจัดสรรเวลาให้งานและชีวิตส่วนตัวในจุดที่สมดุลกัน พอหลังเลิกงานอาจไปทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเอง เช่น ไปเล่นฟิตเนส ไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง จะไม่ค่อยหมกมุ่นอยู่กับงานเหมือนกับคนรุ่นก่อน นอกจากนี้ กลุ่ม Gen-Y จะเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีใจช่วยเหลือสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์ที่ดีและแน่นแฟ้นกับพ่อแม่ 
7. เจเนอเรชั่น ซี (Generation Z) Gen-Z คือ คำนิยามล่าสุดของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน หมายถึงคนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 ขึ้นไป เทียบ อายุแล้วก็คือวัยของเด็ก ๆ นั่นเอง เด็ก ๆ กลุ่ม Gen-Z นี้ จะเติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่อยู่แวดล้อม มีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ และเรียนรู้ได้เร็ว เพราะพ่อแม่ใช้สิ่งเหล่านี้อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งหนึ่งที่เด็กรุ่น Gen-Z แตกต่างจากรุ่นอื่น ๆ สมัยที่ยังเป็นเด็กอยู่ก็คือ เด็กรุ่นนี้จะ ได้เห็นภาพที่พ่อและแม่ต้องออกไปทำงานทั้งคู่ ต่างจากรุ่นก่อน ๆ ที่อาจจะมีพ่อออกไปทำงานคนเดียว ด้วยเหตุผลนี้ เด็ก Gen-Z หลาย ๆ คนจึงได้รับการเลี้ยงดูจากคนอื่นมากกว่าพ่อแม่ของตัวเอง และนอกจาก 7 เจเนอเรชั่นที่บอกไปแล้ว ปัจจุบันนี้ยังมีคำนิยามเพิ่มขึ้นมาอีก 1 กลุ่ม แต่ไม่ได้จัดอยู่ร่วมกับ 7 เจเนอเรชั่นข้างต้น คือ กลุ่ม "Gen-C" เป็นคำใหม่ที่ Google และ Nielsen บัญญัติ ใช้สำหรับเรียกกลุ่มคนยุคใหม่ที่ไม่ได้แบ่งตามอายุเหมือน 7 เจเนอเรชั่นข้างบน แต่จัดกลุ่มตามพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต และโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทั้งนี้ คนที่จะถูกจัดเข้ากลุ่ม Gen-C นั้น ก็คือคนกลุ่ม Baby Boommer และ Gen-X ที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง หันมาสนใจเทคโนโลยีมากขึ้น ไปจนถึงขั้นเสพติดการเชื่อมต่อ แต่ไม่รวมคนกลุ่ม Gen-Y เป็นพวก Gen-C ด้วย นั่นเพราะคนกลุ่ม Gen-Y ปกติก็จะมีการเชื่อมต่อโลกไร้สายเป็นประจำอยู่แล้ว ต่างกับคนกลุ่ม Baby Boommer และ Gen-X ที่ในอดีตแทบไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เลย แต่เมื่อเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีมากขึ้น พฤติกรรมของคนเหล่านี้จึงต้องเปลี่ยนไปตามโลกสำหรับคน Gen-C นั้น จะมีนิสัยที่เห็นเด่นชัดมาก ๆ คือ จะมีการเชื่อมต่อตลอดเวลา มีการอัพเดทข้อมูล สนใจข่าวสารที่ได้รับรู้มาในโลกไซเบอร์ พร้อมจะแชร์ต่อทุกเมื่อ ติดตามดูคลิปในยูทูบมากกว่านั่งดูโทรทัศน์ เหมือนกับสังคมออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของตัวเองไปแล้ว และคนกลุ่มนี้ก็ยังกลายมาเป็นผู้ขับเคลื่อนวัฒนธรรมใหม่ ๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม คนกลุ่ม Gen-C นี้ แม้จะชอบโพสต์ข้อความมากมาย แต่ก็จะโพสต์ด้วยความระมัดระวังกว่าคน Gen-Y ที่อาจจะโพสต์ตามอารมณ์มากกว่า ต่างกับคน Gen-C ที่จะโพสต์เพื่อแบ่งปันความรู้ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ ถ้าเราลองเหลียวมองไปรอบ ๆ ตัว เราก็จะได้พบกับคนรุ่นต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันก็คือ Baby Boomer, Gen-X, Gen-Y และ Gen-Z ซึ่งนักการตลาด นักธุรกิจ ผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากทีเดียว เพราะจะช่วยทำให้พวกเขาได้เรียนรู้และเข้าใจบุคคลในวัยต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ส่วนตัวเราเอง การได้เข้าใจสิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยลดช่องว่างระหว่างวัยในครอบครัว และลดช่องว่างในสังคมการทำงานได้ดีเลยล่ะ ^^ 
ที่มา : kapook.com

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

TQA


  TQM กันเลยดีกว่า Total Qulity Management  แปลอย่างเป็นทางการก็หมายถึง ระบบการบริหารคุณภาพโดยรวม (ความหมายนี้ได้มาทีหลัง)
   มาเริ่มเรื่อง
     เราเริ่มเรียนรู้เรื่อง TQA จากเอกสาร 2 เล่ม ของ "สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ"   และจากการสืบค้นจากแหล่งความรู้ที่ Top Hit ก็คือทางเว็บไซต์นี่แหละ
     TQA  = Thailand Qulity Award = รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เริ่มต้นตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งรางวัลคุณภาพแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย และด้วยตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้บรรจุรางวัลคุณภาพแห่งชาติไว้ในแผนยุทธศาสตร์ การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่ สนับสนุน และ ผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและการบริการ นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไป พัฒนาขีดความ สามารถด้านการบริหารจัดการ องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลกจะได้รับการประกาศเกียรติคุณ ด้วยรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จ เพื่อเป็นแบบอย่าง ให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อมีการขยายการดำเนินงานไปอย่างกว้างขวางย่อมจะส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ถือเป็นรางวัลระดับมาตรฐานโลก เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
     มาถึงตรงนี้สิ่งที่อยากจะเล่าต่อมากที่สุดก็คือ MBNQA นี่แหละ เพราะรางวัลนี้มุ่งความเป็นเลิศด้านการบริหารคุณภาพ  โดยแรกเริ่มเดิมที่องค์กรภาคธุรกิจเท่านั้นที่จะเสนอตัวเพื่อการประเมินขอรับรางวัล เพราะเกณฑ์ในการพิจารณานั้นเป็นองค์รวมสูงมาก ๆ องค์กรที่จะได้รับรางวัลได้นั้น เขาจะดูความสามารถขององค์กรในการจัดการในทุก ๆ ด้าน คือ
ภาวะผู้นำ (Leadership)
(120 คะแนน)
          ในหมวดภาวะผู้นำนี้ เป็นการตรวจประเมินว่าผู้นำระดับสูงขององค์กรได้ดำเนินการในเรื่องค่านิยม ทิศทางและความคาดหวังในผลการดำเนินการอย่างไร รวมไปถึงการมุ่งเน้นลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลาย การให้อำนาจในการตัดสินใจ การสร้างวัฒนธรรม และการเรียนรู้ในองค์กร รวมทั้งตรวจประเมินว่าองค์กรมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะและการให้การสนับสนุนชุมชนที่มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร
การวางแผนกลยุทธ์ (Strategy Planning)
(80 คะแนน)
          ในหมวดของการวางแผนเชิงกลยุทธ์นี้เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรมีวิธีการพัฒนาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการอย่างไร รวมทั้งนำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่เลือกไว้ไปปฏิบัติและวัดผลความก้าวหน้าอย่างไร
การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด
(Customer and Market Focus)(110 คะแนน)
          ในหมวดของการมุ่งเน้นลูกค้าและตลาดนี้ เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรกำหนดความต้องการ ความคาดหวังและความนิยมของลูกค้าและตลาดอย่างไร องค์กรมีการดำเนินการอย่างไรในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและกำหนดปัจจัยสำคัญที่ทำให้ได้ลูกค้า สร้างความพึงพอใจ รักษาลูกค้า และทำให้ธุรกิจขยายตัว
สารสนเทศและการวิเคราะห์ (80 คะแนน)(Information and Analysis)          ในหมวดสารสนเทศและการวิเคราะห์นี้ เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรมีระบบการจัดการสารสนเทศและการวัดผลการดำเนินการอย่างไร และวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศด้านการดำเนินการอย่างไร
การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (100 คะแนน)          ในหมวดของการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล เป็นการตรวจประเมินว่าองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการจูงใจ และช่วยให้พนักงานสามารถพัฒนาตนเองและใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่เพื่อให้มุ่งไปในแนวทางเดียวกันกับวัตถุประสงค์และแผนปฏิบัติการโดยรวมขององค์กร รวมทั้งตรวจประเมินความใส่ใจในการสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงาน สร้างบรรยากาศที่เกื้อหนุนการทำงานของพนักงาน ซึ่งจะโน้มนำไปสู่ผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ และความเจริญก้าวหน้าของพนักงานและองค์กร
การจัดการกระบวนการ (Process Management)(110 คะแนน)          ในหมวดของการจัดการกระบวนการนี้ เป็นการตรวจประเมินแง่มุมต่าง ๆ ที่สำคัญทั้งหมดของการจัดการกระบวนการ รวมถึงการออกแบบโดยคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก การส่งมอบผลิตภัณฑ์และการให้บริการ กระบวนการที่สำคัญทางธุรกิจ และกระบวนการสนับสนุนต่าง ๆ หมวดนี้ให้ครอบคลุมกระบวนการหลัก และหน่วยงานทั้งหมดในองค์กรด้วย
ผลลัพธ์ทางธุรกิจ(Business Results)(400 คะแนน)         ในหมวดผลลัพธ์ทางธุรกิจนี้ เป็นการตรวจประเมินผลการดำเนินการขององค์กร และการปรับปรุงทางธุรกิจที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ความพึงพอใจของลูกค้า ผลการดำเนินการที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ ผลการดำเนินการด้านการเงินและการตลาด ผลลัพธ์ด้านทรัพยากรบุคคล และผลด้านการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังตรวจประเมินผลการดำเนินการขององค์กรเปรียบเทียบกับคู่แข่งด้วย

ในแต่ละด้านก็มีรายละเอียดการประเมินที่ชัดแจ้ง วัดได้ ผู้ประเมินก็ผ่านการอบรมพัฒนาอย่างเข้มข้นแข็งขัน คัดกรองจนถึงที่สุดจึงจะมาทำหน้าที่ประเมินได้ คือ เมื่อเห็นสิ่งที่ปรากฏตรงหน้า ผู้ประเมินทุกคนต้องมองและประเมินได้ด้วยความคิดเห็นเดียวกัน (เหมือนวงการศึกษาบ้านเรารึป่าวนะ)
     คงเริ่มงงกันแล้วใช่มั้ยคะว่าตกลง TQM , TQA และ MBNQA มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร..... ก็คือ เรา (สพฐ.) วางแผนจะนำรูปแบบการบริหารคุณภาพ (TQM) มาพัฒนากับ สพท. และโรงเรียนนำร่อง  ซึ่งจะใช้เกณฑ์การประเมินของ TQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติ) มาเป็นตัวชี้วัดในการพัฒนาและการดำเนินงาน ซึ่งเกณฑ์ประเมิน TQA ของเรา (ประเทศไทย) ก็พัฒนามาจาก MBNQA ของสหรัฐอเมริกา นั่นเอง
     จากการเรียนรู้เรื่อง MBNQA ที่ประทับใจมาก ๆ ก็คือ มีโรงเรียนที่หาญกล้าขอรับรางวัล และได้รับรางวัลนี้ซะด้วยในปี 2001 เป็นโรงเรียนที่ดูแลประชากรวัยเรียนในพื้นที่ทีมีขนาดเท่ากับ 3 เท่าของจังหวัดนครราชสีมา ( นครราชสีมาแบ่งเป็น 7 สพท. 3 เท่า ก็ 21 สพท.) จากความกว้างใหญ่ของพื้นที่ก็แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในด้านต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด โรงเรียนนี้ใช้เวลาในการเริ่มต้นพัฒนาตนเป็นเวลานานหลายปี....(เราจะอดทนได้รึป่าวนะ) อยากรู้แล้วใช่มั้ย ว่าโรงเรียนอะไรกันนะ และเขาทำอย่างไร....ดังนั้น ถ้าต่อมอยากของคุณเริ่มทำงานแล้ว....ไปค้นหาได้เลยค่ะ...
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/157562

TQA คืออะไร TQA (Thailand Quality Award) หรือ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพของประเทศ โดยใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นกรอบการบริหารจัดการที่ครอบคลุม ทุกมิติ ได้รับการยอมรับและน าไปใช้กว่า 90 ประเทศทั่วโลก มีต้นแบบจาก The Baldrige National Quality Award : BNQA ประเทศสหรัฐอเมริกา เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไม่ได้มาจากทฤษฎี แต่เกิดมาจากการระดม ความคิดของนักบริหารและนักเศรษฐศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อค้นหาว่า องค์กรที่ดี มีศักยภาพในการแข่งขันสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในระบบเศรษฐกิจที่ ผันผวนอย่างยั่งยืนนั้น ต้องมีการบริหารจัดการองค์กรที่ครอบคลุมเรื่องใดบ้าง นี่คือความอัจฉริยะของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2545 เป็นปีแรกของรางวัลคุณภาพแห่งชาติในประเทศไทยเพื่อปลุกให้ องค์กรเกิดการตื่นตัวในการตรวจสุขภาพของตนเองเปรียบเทียบกับองค์กร ที่ได้รับการยอมรับว่า “เป็นเลิศ” และพร้อมที่จะปรับทิศทาง ลดขั้นตอนการ ท างานที่เยิ่นเย้อ ท าให้เร็วขึ้น ดีขึ้น ตอบสนองต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการจัดการที่ใช้ข้อมูลจริง ทั้งนี้เพื่อความเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูง
ผู้ตรวจประเมินรางวัล คุณภาพแห่งชาติ คือใคร ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ในการบริหารจัดการองค์กร มีความเข้าใจเกณฑ์ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ท าหน้าที่วิเคราะห์และ ให้ความเห็นเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงองค์กร ในมุมมองจากความเชี่ยวชาญของสาขาวิชาชีพ ผ่านกระบวนการตรวจประเมินภายใต้กรอบของ เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ โดยไม่มีผลประโยชน์ และค่าตอบแทนใดๆ
 ประโยชน์ของการเป็นผู้ตรวจ ประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ
 ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการท าหน้าที่ผู้ตรวจ ประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สามารถน าไปใช้ปรับปรุง และพัฒนาองค์กรท่านเอง
  ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สามารถช่วยผลักดัน องค์กรท่านเอง ในแนวทางที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนา และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
 ได้รับโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ กับผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
  ได้รับโอกาสและความไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรติ ระดับชาติ ถือเป็นเกียรติประวัติของชีวิตการท างาน

เกณฑ์การประเมินOBECQA

เกณฑ์การประเมิน OBECQA ซึ่งจะใช้กับโรงเรียนมาตรฐานสากลทั่วประเทศมี 7 หมวด มาฟังกันชัด ๆ ครับว่าเขาประเมินอย่างไร
2

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

ข้อคิดจากงานวิจัย

วิลัยพรณ์ เสรีวัฒน์. 2555. ได้ทำการประเมินเชิงระบบโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลก(World-Class Standard School)
มีจุดมุ่งหมายเพื่อสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างปี 2553-2554 ตามองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และ ด้านผลกระทบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed method) ระหว่างการวิจัยเชิงสำรวจ (survey study) ประชากร คือ โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard
School) จ านวน 381 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 191 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า และ การวิจัยพหุกรณีศึกษา (multi-cases study)พื้นที่ในการศึกษา เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล 6 โรงเรียน ใน 6 ภูมิภาค เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และแบบสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลัก(informant) ในแต่ละโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลที่มีความคาดหวังให้นักเรียน
มีความเป็นเลิศวิชาการ สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก มีความเหมาะสม สอดคล้องกับแนวนโยบายการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งสู่คุณภาพในระดับมาก แต่ควรจะปรับเป็นมาตรฐานสากลทั้งระบบ และท าทุกระดับชั้น ทั่วประเทศ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ครูผู้สอน ผู้บริหาร และ ปัจจัยพื้นฐานในโรงเรียนมาตรฐานสากล มี
คุณภาพ อยู่ในระดับมาก แต่ครูผู้สอน และผู้บริหารขาดความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ควรปรับปรุงให้มี ห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มัลติมิเดีย ทุกกลุ่มสาระ และอินเตอร์เน็ต ความเร็วสูง ทั่วประเทศ
3. ด้านกระบวนการ พบว่า การปฏิบัติตามแนวนโยบายการพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลมีการ
ปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ด้านการปฏิบัติตามองค์ประกอบการบริหารคุณภาพ 7 หมวด มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล มีการปฏิบัติอยู่ในระดับ มากที่สุด และควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4. ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนโรงเรียนมาตรฐานสากล มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้าน ความเป็นเลิศ
วิชาการสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก อยู่ในระดับมาก และ มีกิจกรรมที่นักเรียนและครูจัดขึ้นเพื่อบริการสังคมด้วยจิตสาธารณะ อย่างหลากหลาย รวมถึงได้รับรางวัลจากการแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติมากขึ้น
5. ด้านผลกระทบ พบว่า ครูมีการวิจัยและพัฒนาอยู่ในระดับปานกลางครูและนักเรียนมีเครือข่ายร่วม
พัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง ผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้น โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร ครูนักเรียนได้รับเกียรติบัตรรางวัล และได้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำคัญต่างๆ ในทุกระดับเพิ่มขึ้น ได้รับคำยกย่องจากสื่อต่าง ๆ และจากชุมชน ผู้ปกครองพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากล ให้ความไว้วางใจและเห็นความสำคัญในการเตรียมบุตรหลานเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทิศทางเศรษฐกิจไทยในยุค AEC 2558

ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) เป็นการรวมตัวกันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ประกอบด้วย 6 สมาชิกดั้งเดิมคือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และ 4 สมาชิกใหม่คือ ลาว พม่า เวียดนาม และกัมพูชา โดยมีเป้าหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่

1.เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน : มีการเคลื่อนย้ายเสรีใน 5 สาขา ได้แก่ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมือ ระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรีมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการขยายการค้าและการบริการเพิ่มขึ้น
2.สร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน : โดยการร่วมมือกันในด้านต่างๆ เช่น นโยบายทางภาษี (การลดภาษี ทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลดลง) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค : พยายามลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของสมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ เช่น การสนับสนุนการพัฒนา SMEs ในภูมิภาค และ
4.การเพิ่มอำนาจการต่อรองกับเศรษฐกิจโลก : โดยเน้นการปรับและประสานนโยบายเศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายกับประเทศภายนอกกลุ่ม เพื่อสร้างความเข้มแข็งในภูมิภาคและรองรับการแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม AEC เป็นเพียงส่วนหนึ่งในแผนการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนเท่านั้น ซึ่งการรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจในครั้งนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี ซึ่งจะช่วยเพิ่มบทบาทและความน่าสนใจของกลุ่มอาเซียนในสายตาประชาคมโลก อีกทั้งยังเพิ่มอำนาจการต่อรองในเวทีเศรษฐกิจโลกด้วยจำนวนประชากรประมาณ เกือบ 600 ล้านคน หรือคิดเป็น 8.50% ของประชากรโลก และศักยภาพในการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต

การรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจของ AEC ไม่เข้มงวดเหมือนกับการเข้าเป็นสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) โดยตามกรอบข้อตกลงของ AEC ไม่ได้ระบุให้ประเทศสมาชิกต้องใช้เงินสกุลเดียวกัน ประกอบกับประเทศใน AEC มีการบริหารจัดการแบบ Intra-government คือแต่ละประเทศมีอำนาจและอิสระในการกำหนดนโยบายของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายการตั้งกำแพงภาษีกับประเทศนอกกลุ่ม AEC เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจาก EEC ที่มีความเป็น Supra-national authority โดยทุกประเทศต้องใช้นโยบายกลาง ตัดสินใจจากหน่วยงานที่มีอำนาจจากส่วนกลาง
สิ่งที่ 6 ประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิมดำเนินการเสร็จแล้วคือการลดภาษีระหว่างกันให้ เหลือ 0-5% ขณะที่กลุ่มอาเซียนใหม่ 4 ประเทศถูกกำหนดให้ดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 ส่งผลให้ไทยขยายตลาดส่งออกไปประเทศในกลุ่มอาเซียนในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยมากกว่า 5% แทนการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจอ่อนแอ เช่น ประเทศในกลุ่มประเทศ G-3 โดยตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค. 2554 สัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียน 23% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด เพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนๆ (ปี 2553 และ 2552 เท่ากับ 22.70%, 21.3% ตามลำดับ) ขณะที่ตลาดส่งออกหลักได้แก่ กลุ่ม G-3 ลดลงเหลือ 31% (ปี 2553 และ 2552 เท่ากับ 32%, 33.16% ตามลำดับ) ทำให้การส่งออกของไทยยังคงขยายตัวแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม การก้าวเข้ามาอยู่ภายใต้ใบเรือของ AEC นั้นก่อให้เกิดทั้งในด้านโอกาสและความท้าทายต่อประเทศไทย ดังนั้น เพื่อที่จะทำให้สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจนี้ ภาคส่วนต่างๆจึงต้องมีการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล ซึ่งเป็นแกนนำสำคัญในการออกนโยบายหรือมาตรการต่างๆในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ นักลงทุนต่างประเทศเพื่อเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล การเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางด้านการลงทุนของต่างชาติจาก BOI ภาคผู้ประกอบการ เน้นการแสวงหาตลาดใหม่ๆเพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดหรือสร้างมูลค่าเพิ่ม แทนการแข่งขันด้านราคาอย่างเดียว รวมถึงนักลงทุนต้องปรับเปลี่ยนการลงทุนของตนเองไปยังตลาดหรืออุตสาหกรรมที่ คาดว่าจะได้รับประโยชน์จาก AEC

ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจาก AEC ได้แก่ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จากการที่ไทยมีศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจการท่องเที่ยวอยู่แล้ว ทำให้มีโอกาสใช้จุดแข็งนี้เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวพักผ่อน การจัดงานแต่งงาน การดูแลรักษาสุขภาพ โดยการยกเว้นวีซ่าสำหรับการท่องเที่ยวระยะสั้นให้แก่นักท่องเที่ยว อีกทั้งค่าบริการยังอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง แต่สิ่งที่ต้องปรับตัวคือการพัฒนาแรงงานในธุรกิจท่องเที่ยวให้มีความ เชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษมากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันกับแรงงานจากประเทศอาเซียนอื่นๆที่มีความถนัดทางด้าน ภาษามากกว่า
อุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยแรงงานฝีมือ โดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร นักกฎหมาย นักบัญชี สถาปนิก ที่มีโอกาสจะเคลื่อนย้ายตนเองเข้าไปสู่ประเทศที่มีผลตอบแทนสูงกว่าจากการที่ จะเปิดเสรีในการโยกย้ายแรงงาน โดยผู้ประกอบการที่ต้องการรักษาแรงงานฝีมือเหล่านั้นไว้จะต้องเพิ่มค่า ตอบแทนให้มากพอในการจูงใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ต้นทุนของภาคธุรกิจดังกล่าวสูงขึ้น

อุตสาหกรรมที่มีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยปัจจุบันสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนคือ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เช่น สัตว์น้ำแช่แข็ง เยื่อกระดาษ เคมีภัณฑ์ เพชร พลอย ซึ่งได้รับประโยชน์จากการทำลายกำแพงภาษีระหว่างประเทศกลุ่มสมาชิก ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตถูกลง
อุตสาหกรรมบริการด้านโทรคมนาคม ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจบริการที่ไทยต้องขยายสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุน อาเซียนเป็น 70% อาจทำให้ประเทศที่มีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีสูงกว่า เช่น สิงคโปร์ เข้ามามีอำนาจในการจัดการอุตสาหกรรมประเภทนี้ได้
กล่าวได้ว่า การรวมตัวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ดังนั้น ภาครัฐบาล ผู้ประกอบการ และนักลงทุน จึงควรศึกษาผลกระทบและร่วมมือกันในการปรับตัวเพื่อรองรับการลงเรือที่ชื่อ ว่า ASEAN ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ รวมทั้งการพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากรเพื่อเก็บเกี่ยวและรองรับประโยชน์ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน ปีที่ 12 ฉบับที่ 315