วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต

             การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนใน หลากหลายวิธีซึ่งจำแนกได้ดังนี้ (คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้,2543 : 36-37)


 
             1. การจัดการเรียนการสอนทางอ้อม ได้แก่ การเรียนรู้แบบสืบค้น แบบค้นพบ แบบแก้ปัญหา แบบ สร้างแผนผังความคิดแบบใช้กรณีศึกษา แบบตั้งคำถามแบบใช้การตัดสินใจ

              2. เทคนิคการศึกษาเป็นรายบุคคล ได้แก่ วิธีการเรียนแบบศูนย์การเรียน แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบชุดกิจกรรมดารเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

              3. เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ประกอบการเรียน เช่น การใช้สิ่งพิมพ์ ตำราเรียน และแบบฝึกหัดการใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน ศูนย์การเรียนชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนสำเร็จรูป

              4. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์ ประกอบด้วย การโต้วาทีกลุ่ม Buzz การ อภิปราย การระดมพลังสมอง กลุ่มแกปัญหา กลุ่มติวการประชุมต่าง ๆ การแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มสืบค้นคู่คิดการฝึกปฏิบัติ เป็นต้น

               5. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ เช่น การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เกม กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลองละคร เกม กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลอง ละคร บทบาท สมมติ

              6. เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ได้แก่ ปริศนาความคิดร่วมมือแข่งขันหรือกลุ่มสืบค้น กลุ่มเรียนรู้ ร่วมกัน ร่วมกันคิด กลุ่มร่วมมือ

              7. เทคนิคการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ได้แก่ การเรียนการสอนแบบใช้เว้นเล่าเรื่อง (Story line) และการเรียนการสอนแบบ แก้ปัญหา (Problem-Solving)

 การสอนที่ดีควรมีลักษณะ  ดังนี้
                        1.  มีการส่งเสริมนักเรียนให้เรียนด้วยการกระทำ  การได้ลงมือทำจริง   ให้ประสบการณ์ที่มีความหมาย
                        2.  มีการส่งเสริมนักเรียน ให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม  นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  การทำงานร่วมกับผู้อื่น
                        3.   มีการตอบสนองความต้องการของนักเรียน เรียนด้วยความสุข  ความสนใจ กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
                        4.   มีการสอนให้สัมพันธ์ระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี
                        5.   มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ  เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
                        6.   มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ  ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริง และดูผลการปฏิบัติของตนเอง
                        7.   มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอด้วยการซักถามหรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ  เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ  และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
                        8.   มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม  และความคิดสร้างสรรค์  ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดี มีประโยชน์ ไม่เลียนแบบใคร  ส่งเสริมกิจกรรมสุนทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร
                        9.   มีการใช้การจูงใจในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน เครื่องเชิดชูเกียรติ การลงโทษ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม
                        10.  มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย   เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น มีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น  ยกย่องความคิดเห็นที่ดี   นักเรียนมีส่วนร่วม ในการวางแผนร่วมกับครู
                        11.  มีการเร้าความสนใจ ก่อนลงมือทำการสอนเสมอ 
                        12.  มีการประเมินผลตลอดเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ  เช่น  การสังเกต การซักถาม การทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าการสอนของครูตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด

             หลักการของแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน  จะเป็นสื่อสำหรับผู้เรียนรายบุคคล  ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นรายบุคคล  โดยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้  ฝึกปฏิบัติ  ฝึกทำกิจกรรม เสร็จแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบ และ  สามารถทราบผลการเรียนด้วยตัวเองในทันทีว่าตัวเองเรียนรู้เข้าใจหรือไม่  ถ้าไม่เข้าใจ  ก็เข้าไปศึกษาใหม่เป็นการซ่อมเสริมด้วยตัวเอง   จนกว่าจะเข้าใจและผ่านการทดสอบ


            ข้อดีที่เป็นจุดเด่น ก็คือ  “สอนน้อย   เรียนมาก”  นั่นคือคุณครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก   ส่วนนักเรียน เป็นผู้เรียนรู้ด้วยตัวเอง  ตรวจสอบผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง  นักเรียนจะรู้คะแนนที่ทำ  สามารถประเมินผลตัวเองได้ในทันที  และ สามารถเข้าไปเรียนซ้ำ หรือ  ฝึกทำซ้ำได้ตามความพร้อม    ต่างคนต่างเรียน  ไม่ต้องไปพร้อมๆ  กัน

          การเรียนรู้จากสื่อแท็บเล็ตเป็นการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยามนุษย์นิยมของ  คาร์ล  โรเจอร์ ที่ว่า

 

             ๑. การเรียนรู้ที่สำคัญมักจะเกิดจากการลงมือกระทำของผู้เรียนเอง

 

             ๒. ถ้านักเรียนมีส่วนร่วม และ มีความรับผิดชอบในกระบวนการเรียนรู้จะช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียนมากขึ้น

 

           ๓. ถ้านักเรียนเป็นผู้ริเริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยทุ่มเททั้งความรู้สึกและสติปัญญา  จะเป็นผลให้นักเรียนอยากเรียนรู้มากขึ้นตลอดเวลา

 

             ๔. การ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินผลสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเองจะช่วยให้ผู้เรียนมี ความคิด มีอิสระ เป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความคิดสร้างสรรค์

              แท็บเล็ต  จึงเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของตนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาผู้เรียนให้ได้เรียนรู้ด้วยความเป็นตัวของตัวเอง  ส่งผลให้เป็นผู้ที่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง
              ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มี คุณธรรมจากการเห็นคุณค่าของตัวเอง และ มีความภาคภูมิใจในตัวเอง   จากการเป็นผู้เรียนรู้   มาเป็นผู้มีความรู้ คุ๋คุณธรรม

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภาษาอังกฤษกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน



ภาษาอังกฤษกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน



ที่มา ...รศ.นพพร  สโรบล สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในปี 2015 หรือปี 2558 ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ บรูไน เวียตนาม ลาว พม่า และกัมพูชา จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)ซึ่งหมายความว่า ประชาชนในแต่ละประเทศ จะต้องติดต่อสื่อสารกันในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยว และอื่น ๆ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการท างานในประชาคมอาเซียน ดังกฎบัตร อาเซียนข้อ 34 ที่บัญญัติว่า “The Working language of ASEAN shall be English”เมื่อเป็นเช่นนี้ในวงการศึกษาจึงมีการตื่นตัว และเตรียมพร้อมกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเป็นอย่างมาก นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความคิดเห็นอย่างกว้างขวางในการพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษของเยาวชน และคนท างานในประเทศไทยโดยมุ่งเน้นว่าพลเมืองทุกคนในประเทศต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม การที่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในประเทศจะสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีนั้น ผู้ที่มีบทบาทส าคัญเป็นอย่างยิ่งต่อเรื่องนี้ คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จึงจำเป็นที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะต้องยกระดับและพัฒนาตนเองก่อนเป็นอันดับแรก
แนวทางที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะต้องเตรียมพร้อมในการพัฒนาตนเองมีดังต่อไปนี้
                 ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในประชาคมอาเซียนกฎบัตรอาเซียน และตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นภาษากลางของคนในอาเซียน ในการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกันครูควรจะต้องถ่ายทอดให้นักเรียนของตนมีความรู้ในเรื่องอาเซียนด้วยเช่นเดียวกัน ตลอดจนควรจะทำความเข้าใจกับนักเรียน และชี้แจงให้นักเรียนเห็นถึงความจำเป็นของภาษาอังกฤษในสังคมอาเซียนที่กำลังจะมาถึงพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่เรียนรู้ไปตลอดชีวิต (Lifelong learning) การเรียนภาษานั้นไม่มีวันจบสิ้น ไม่จำกัดอายุ เพศ และวัย และการเรียนก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น ดังนั้น การเรียนภาษาอังกฤษจึงสามารถทำได้ด้วยตนเอง นอกชั้นเรียน ตลอดเวลา นอกจากนั้นควรสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาภาษาอังกฤษของตนเองอีกด้วยการพัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้เพิ่มขึ้น โดยการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ทุกวัน จากการอ่านสิ่งที่อยู่รอบตัวที่เป็นภาษาอังกฤษ เช่น ป้ายประกาศ แผ่นพับ สิ่งตีพิมพ์ หนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่ฉลากสินค้า การที่จะจำคำศัพท์ต่าง ๆ ได้นั้น มิได้อยู่ที่การท่องศัพท์ แต่เพียงอย่างเดียว แต่หากต้องรู้จักใช้คำศัพท์เหล่านั้นในชีวิตประจำวันด้วย เช่น พูด หรือเขียน เป็นภาษาอังกฤษกับคนรอบข้าง หรือถ้าต้องการจะใช้ dictionary ก็ควรใช้ dictionary อังกฤษ-อังกฤษ หรือใช้ dictionary online ซึ่งจะทำให้มีแรงจูงใจในการพัฒนาคำศัพท์มากขึ้น ค้นหากลวิธีการเรียนรู้ภาษา (Learning Strategies) ของตนเองว่า ชอบที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยวิธีใด จึงพัฒนาภาษาด้วยวิธีที่ชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้สำรวจตนเองว่าชอบทำกิจกรรมอะไรก็ให้ทำสิ่งนั้นเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ชอบฟังเพลง ก็ให้ฟังเพลงเป็นภาษาอังกฤษ ชอบฟังข่าวก็เลือกฟังข่าวช่องภาษาอังกฤษ ชอบดูภาพยนตร์ก็ให้เลือกฟัง Sound trackไม่ใช่พากษ์ไทย ชอบดูรายการ TVหรือ Series ก็ให้เลือก Mode ภาษาอังกฤษ ชอบอ่านหนังสือก็เลือกอ่านวารสาร หรือหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ หรือ ถ้ามีโอกาสที่ได้พบปะพูดคุยกับชาวต่างชาติ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของภาษา แต่อาจจะเป็นชาติใดก็ได้ ก็ควรที่จะพูดภาษาอังกฤษ ไม่ใช่หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษและกลับไปสนับสนุนให้ชาวต่างชาติพูดภาษาไทยแทน
พัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการใช้สื่อสมัยใหม่ เช่น การ Access Internet เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การใช้ iPad หรือ Tablet ซึ่งถ้าครูมีความรู้ในการใช้สื่อ อีเลคโทรนิคส์ ในยุคดิจิตอลก็จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและนักเรียนอีกด้วย
การเข้าร่วมประชุม อบรม และสัมมนาต่าง ๆ ทั้งทางด้านการพัฒนาทักษะภาษาของตนเอง และพัฒนาวิธีการสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรจะจัดหาเวลาในการเข้าร่วม การประชุมอบรม ที่จัดโดยหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันสอนภาษา เช่น AUA หรือ British Council องค์กรหรือสมาคมต่าง ๆ เช่น สโมสรโรตารี่ สมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย ซึ่งการอบรมดังกล่าว มีทั้ง เสียค่าใช้จ่ายในการอบรม และอบรมฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้น ครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม หรือสมัครเป็นสมาชิกสมาคมวิชาชีพ เช่น สมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย (Thailand TESOL) เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลและUpdate วิชาชีพของตน นอกจากนี้ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน อาจมีการรวมกลุ่ม และจัดหาครูที่เก่งภาษาอังกฤษมาช่วยสอนหรือแนะนำเพื่อนครูต่างโรงเรียน หรืออาจมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูควรนำสื่ออิเลคโทรนิคส์เข้ามาใช้ในการรวมกลุ่มกันพัฒนาตนเอง เช่น มีการ Chat บน Net หรือ เข้าไปมีส่วนร่วมใน Online Forum หรือ blogs ก็ได้
พัฒนาทักษะในการออกเสียง (pronunciation)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง Stress ควรจะต้องเน้นคำเวลาออกเสียงให้ถูกต้องมากกว่าไปกังวล เรื่อง accent ทั้งนี้เพราะผู้เรียนภาษาที่สอง มักจะพูดโดยมีสำเนียง ในภาษาแม่ของตนเอง ซึ่งปัจจุบันมีการยอมรับ เรื่องการออกเสียงด้วยส าเนียงในภาษาแม่ เวลาพูดภาษาอังกฤษ โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเลียนเสียง หรือเลียนแบบสำเนียงของเจ้าของภาษาเหมือนอย่างแต่ก่อน อย่างไรก็ตามในการที่จะพัฒนาการออกเสียงให้ถูกต้องได้นั้น ควรจะต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะการฟัง (Listening Skills) ยกตัวอย่าง เช่น เวลาฟังรายการ TV หรือ ภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นไปได้ควรจะออกเสียงตามด้วย จึงจะได้ผล
พัฒนาวิธีการสอนภาษาอังกฤษของตนเองให้มีประสิทธิภาพ ในอดีตที่ผ่านมา การเรียนการสอนภาษาอังกฤษมุ่งเน้นที่การสอนไวยากรณ์ มากกว่าการสอนเพื่อการสื่อสาร แม้ว่าจะมีการปรับปรุงหลักสูตร โดยกระทรวงศึกษาธิการของไทย ได้พยายามทำความเข้าใจกับครูผู้สอนให้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียน มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะการฟังและพูดภาษาอังกฤษ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ นักเรียนยังไม่สามารถใช้ภาษาได้ โดยเฉพาะการฟังและการพูดเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องจากครูไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาสื่อสารกันในชั้นเรียนเท่าที่ควร ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูควรจะจัดการเรียนการสอนโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการสื่อสารกันในชั้นเรียนอย่างจริงจัง โดยส่งเสริมให้มี face-to-face communication ในการสื่อสาร ระหว่างครูและนักเรียน หรือนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน พัฒนาวิชาชีพครูโดยการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะClassroom Research หรือ Action Research
การทำวิจัยดังกล่าว นอกจากจะเป็นการพัฒนาตนเอง (Professional Development)แล้ว ยังจะเป็นการพัฒนาวิธีสอนหรือจัดหาสื่อ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ของการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อีกด้วย นอกจากการพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ได้เสนอแนะมาข้างต้นแล้ว ผู้บริหารสถานศึกษาก็มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษได้ยกระดับ และพัฒนาตนเองอย่างจริงจังเช่นเดียวกันทั้งในเรื่องงบประมาณ และการบริหารการจัดการ รวมทั้งความสามารถในการประสานและร่วมมือกันกับองค์กรต่าง ๆทั้งในประเทศ และต่างประเทศในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนแนวทางที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะช่วยส่งเสริมครูผู้สอนภาษาอังกฤษให้พัฒนาตนเองได้ มีดังนี้
ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้โรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษนอกชั้นเรียน เช่น จัด English Summer Camp ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดหมู่บ้านภาษาอังกฤษ (English Village)หรือให้การตอบสนองนโยบายของรัฐในการสนับสนุนให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่างนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้บุคลากรในสถานศึกษาได้ใช้ภาษาอังกฤษ 1 วัน ใน 1 สัปดาห์ เรียกว่า English Speaking Dayซึ่งนโยบายนี้อาจจะต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือเมื่อทางโรงเรียนมีความพร้อมเป็นต้น
ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับวิชาภาษาอังกฤษและสนับสนุนครูอาจารย์โดยการจัดงบประมาณ เพื่อส่งครูอาจารย์ไปเข้ารับการประชุม อบรม สัมมนา การดูงานทั้งในประเทศและประเทศอาเซียน รวมทั้งประเทศที่เป็นเจ้าของภาษา เพื่อครูจะได้มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
                  ผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีนโยบายให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เข้ารับการอบรม ดูงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลับมาถ่ายทอดความรู้ ความสามารถให้กับเพื่อนครูด้วยกัน รวมทั้งต้องเข้าสอนนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยสนับสนุนให้มีการนิเทศภายในหรือการ observe class อยู่เป็นประจำ