วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภาษาอังกฤษกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน



ภาษาอังกฤษกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน



ที่มา ...รศ.นพพร  สโรบล สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในปี 2015 หรือปี 2558 ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ บรูไน เวียตนาม ลาว พม่า และกัมพูชา จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)ซึ่งหมายความว่า ประชาชนในแต่ละประเทศ จะต้องติดต่อสื่อสารกันในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การท่องเที่ยว และอื่น ๆ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการท างานในประชาคมอาเซียน ดังกฎบัตร อาเซียนข้อ 34 ที่บัญญัติว่า “The Working language of ASEAN shall be English”เมื่อเป็นเช่นนี้ในวงการศึกษาจึงมีการตื่นตัว และเตรียมพร้อมกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเป็นอย่างมาก นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความคิดเห็นอย่างกว้างขวางในการพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษของเยาวชน และคนท างานในประเทศไทยโดยมุ่งเน้นว่าพลเมืองทุกคนในประเทศต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม การที่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในประเทศจะสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีนั้น ผู้ที่มีบทบาทส าคัญเป็นอย่างยิ่งต่อเรื่องนี้ คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จึงจำเป็นที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะต้องยกระดับและพัฒนาตนเองก่อนเป็นอันดับแรก
แนวทางที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจะต้องเตรียมพร้อมในการพัฒนาตนเองมีดังต่อไปนี้
                 ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในประชาคมอาเซียนกฎบัตรอาเซียน และตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นภาษากลางของคนในอาเซียน ในการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกันครูควรจะต้องถ่ายทอดให้นักเรียนของตนมีความรู้ในเรื่องอาเซียนด้วยเช่นเดียวกัน ตลอดจนควรจะทำความเข้าใจกับนักเรียน และชี้แจงให้นักเรียนเห็นถึงความจำเป็นของภาษาอังกฤษในสังคมอาเซียนที่กำลังจะมาถึงพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่เรียนรู้ไปตลอดชีวิต (Lifelong learning) การเรียนภาษานั้นไม่มีวันจบสิ้น ไม่จำกัดอายุ เพศ และวัย และการเรียนก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น ดังนั้น การเรียนภาษาอังกฤษจึงสามารถทำได้ด้วยตนเอง นอกชั้นเรียน ตลอดเวลา นอกจากนั้นควรสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาภาษาอังกฤษของตนเองอีกด้วยการพัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้เพิ่มขึ้น โดยการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ทุกวัน จากการอ่านสิ่งที่อยู่รอบตัวที่เป็นภาษาอังกฤษ เช่น ป้ายประกาศ แผ่นพับ สิ่งตีพิมพ์ หนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่ฉลากสินค้า การที่จะจำคำศัพท์ต่าง ๆ ได้นั้น มิได้อยู่ที่การท่องศัพท์ แต่เพียงอย่างเดียว แต่หากต้องรู้จักใช้คำศัพท์เหล่านั้นในชีวิตประจำวันด้วย เช่น พูด หรือเขียน เป็นภาษาอังกฤษกับคนรอบข้าง หรือถ้าต้องการจะใช้ dictionary ก็ควรใช้ dictionary อังกฤษ-อังกฤษ หรือใช้ dictionary online ซึ่งจะทำให้มีแรงจูงใจในการพัฒนาคำศัพท์มากขึ้น ค้นหากลวิธีการเรียนรู้ภาษา (Learning Strategies) ของตนเองว่า ชอบที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยวิธีใด จึงพัฒนาภาษาด้วยวิธีที่ชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้สำรวจตนเองว่าชอบทำกิจกรรมอะไรก็ให้ทำสิ่งนั้นเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ชอบฟังเพลง ก็ให้ฟังเพลงเป็นภาษาอังกฤษ ชอบฟังข่าวก็เลือกฟังข่าวช่องภาษาอังกฤษ ชอบดูภาพยนตร์ก็ให้เลือกฟัง Sound trackไม่ใช่พากษ์ไทย ชอบดูรายการ TVหรือ Series ก็ให้เลือก Mode ภาษาอังกฤษ ชอบอ่านหนังสือก็เลือกอ่านวารสาร หรือหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ หรือ ถ้ามีโอกาสที่ได้พบปะพูดคุยกับชาวต่างชาติ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของภาษา แต่อาจจะเป็นชาติใดก็ได้ ก็ควรที่จะพูดภาษาอังกฤษ ไม่ใช่หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษและกลับไปสนับสนุนให้ชาวต่างชาติพูดภาษาไทยแทน
พัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการใช้สื่อสมัยใหม่ เช่น การ Access Internet เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การใช้ iPad หรือ Tablet ซึ่งถ้าครูมีความรู้ในการใช้สื่อ อีเลคโทรนิคส์ ในยุคดิจิตอลก็จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและนักเรียนอีกด้วย
การเข้าร่วมประชุม อบรม และสัมมนาต่าง ๆ ทั้งทางด้านการพัฒนาทักษะภาษาของตนเอง และพัฒนาวิธีการสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรจะจัดหาเวลาในการเข้าร่วม การประชุมอบรม ที่จัดโดยหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันสอนภาษา เช่น AUA หรือ British Council องค์กรหรือสมาคมต่าง ๆ เช่น สโมสรโรตารี่ สมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย ซึ่งการอบรมดังกล่าว มีทั้ง เสียค่าใช้จ่ายในการอบรม และอบรมฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้น ครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม หรือสมัครเป็นสมาชิกสมาคมวิชาชีพ เช่น สมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย (Thailand TESOL) เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลและUpdate วิชาชีพของตน นอกจากนี้ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน อาจมีการรวมกลุ่ม และจัดหาครูที่เก่งภาษาอังกฤษมาช่วยสอนหรือแนะนำเพื่อนครูต่างโรงเรียน หรืออาจมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูควรนำสื่ออิเลคโทรนิคส์เข้ามาใช้ในการรวมกลุ่มกันพัฒนาตนเอง เช่น มีการ Chat บน Net หรือ เข้าไปมีส่วนร่วมใน Online Forum หรือ blogs ก็ได้
พัฒนาทักษะในการออกเสียง (pronunciation)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง Stress ควรจะต้องเน้นคำเวลาออกเสียงให้ถูกต้องมากกว่าไปกังวล เรื่อง accent ทั้งนี้เพราะผู้เรียนภาษาที่สอง มักจะพูดโดยมีสำเนียง ในภาษาแม่ของตนเอง ซึ่งปัจจุบันมีการยอมรับ เรื่องการออกเสียงด้วยส าเนียงในภาษาแม่ เวลาพูดภาษาอังกฤษ โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเลียนเสียง หรือเลียนแบบสำเนียงของเจ้าของภาษาเหมือนอย่างแต่ก่อน อย่างไรก็ตามในการที่จะพัฒนาการออกเสียงให้ถูกต้องได้นั้น ควรจะต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะการฟัง (Listening Skills) ยกตัวอย่าง เช่น เวลาฟังรายการ TV หรือ ภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นไปได้ควรจะออกเสียงตามด้วย จึงจะได้ผล
พัฒนาวิธีการสอนภาษาอังกฤษของตนเองให้มีประสิทธิภาพ ในอดีตที่ผ่านมา การเรียนการสอนภาษาอังกฤษมุ่งเน้นที่การสอนไวยากรณ์ มากกว่าการสอนเพื่อการสื่อสาร แม้ว่าจะมีการปรับปรุงหลักสูตร โดยกระทรวงศึกษาธิการของไทย ได้พยายามทำความเข้าใจกับครูผู้สอนให้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียน มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะการฟังและพูดภาษาอังกฤษ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ นักเรียนยังไม่สามารถใช้ภาษาได้ โดยเฉพาะการฟังและการพูดเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องจากครูไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาสื่อสารกันในชั้นเรียนเท่าที่ควร ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูควรจะจัดการเรียนการสอนโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการสื่อสารกันในชั้นเรียนอย่างจริงจัง โดยส่งเสริมให้มี face-to-face communication ในการสื่อสาร ระหว่างครูและนักเรียน หรือนักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน พัฒนาวิชาชีพครูโดยการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะClassroom Research หรือ Action Research
การทำวิจัยดังกล่าว นอกจากจะเป็นการพัฒนาตนเอง (Professional Development)แล้ว ยังจะเป็นการพัฒนาวิธีสอนหรือจัดหาสื่อ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ของการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อีกด้วย นอกจากการพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่ได้เสนอแนะมาข้างต้นแล้ว ผู้บริหารสถานศึกษาก็มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษได้ยกระดับ และพัฒนาตนเองอย่างจริงจังเช่นเดียวกันทั้งในเรื่องงบประมาณ และการบริหารการจัดการ รวมทั้งความสามารถในการประสานและร่วมมือกันกับองค์กรต่าง ๆทั้งในประเทศ และต่างประเทศในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนแนวทางที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะช่วยส่งเสริมครูผู้สอนภาษาอังกฤษให้พัฒนาตนเองได้ มีดังนี้
ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้โรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษนอกชั้นเรียน เช่น จัด English Summer Camp ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดหมู่บ้านภาษาอังกฤษ (English Village)หรือให้การตอบสนองนโยบายของรัฐในการสนับสนุนให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่างนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้บุคลากรในสถานศึกษาได้ใช้ภาษาอังกฤษ 1 วัน ใน 1 สัปดาห์ เรียกว่า English Speaking Dayซึ่งนโยบายนี้อาจจะต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือเมื่อทางโรงเรียนมีความพร้อมเป็นต้น
ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับวิชาภาษาอังกฤษและสนับสนุนครูอาจารย์โดยการจัดงบประมาณ เพื่อส่งครูอาจารย์ไปเข้ารับการประชุม อบรม สัมมนา การดูงานทั้งในประเทศและประเทศอาเซียน รวมทั้งประเทศที่เป็นเจ้าของภาษา เพื่อครูจะได้มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
                  ผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีนโยบายให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เข้ารับการอบรม ดูงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลับมาถ่ายทอดความรู้ ความสามารถให้กับเพื่อนครูด้วยกัน รวมทั้งต้องเข้าสอนนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยสนับสนุนให้มีการนิเทศภายในหรือการ observe class อยู่เป็นประจำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น